แก้รัฐธรรมนูญ: เหลียวหลังแลหน้าข้อเสนอ “ปิดสวิตซ์ ส.ว.”

19 มิถุนายน 2565 มูลนิธิอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน และอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน จัดวงเสวนาในหัวข้อ “เอาไงต่อกับมาตรา 272: หนทางข้างหน้าสู่การปิดสวิตซ์ ส.ว.เลือกนายก” โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ ยิ่งชีพอัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ผู้ริเริ่มการเข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน “รื้อ สร้าง ร่าง รัฐธรรมนูญ” ถัดมาคือ พริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบาย พรรคก้าวไกล และตัวแทนกลุ่ม Re-solution ผู้ริเริ่มเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน “รื้อระบอบประยุทธ์” ผู้ร่วมเสวนาคนสุดท้ายคือ ณัฏฐา มหัทธนา นักกิจกรรมทางการเมือง ผู้ริเริ่มเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน “No 272 ยกเลิกอำนาจ ..โหวตนายก

โดยวงเสวนามีการทบทวนบทเรียนการเคลื่อนไหวการเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนจำนวน 2 ฉบับ รวมถึงชวนประชาชนช่วยกันจับตาการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่สี่ ซึ่งจะมีร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนอีก 1 ฉบับ ว่าด้วยการยกเลิกมาตรา 272 ที่ให้สมาชิกวุฒิสภา (.ว.) ตามบทเฉพาะกาล (ที่มาจากการสรรหาและคัดเลือกโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ) มีอำนาจร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี หรือ ที่เรียกกันว่าข้อเสนอ “ปิดสวิตซ์ส.ว.”

เหลียวหลังแลหน้าการเแก้รัฐธรรมนูญโดยประชาชน

ในปี 2563 กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา กลายเป็นหัวขบวนในการออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อขับไล่รัฐบาล พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เนื่องจากเห็นว่า การเข้าสู่อำนาจของ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นไปอย่างไม่ถูกต้องชอบธรรม มีการวางกลไกทางการเมืองโดยเฉพาะในรัฐธรรมนูญ ปี 2560 เพื่อช่วยปูทางการสืบทอดอำนาจไว้ และด้วยเหตุนี้ จึงทำให้การชุมนุมเรียกร้องในปีดังกล่าว มีข้อเรียกร้องสำคัญ คือ “การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดยประชาชน” 

ต่อมาในเดือนสิงหาคม ปี 2563 เครือข่ายภาคประชาชน นำโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมาย หรือ ไอลอว์ ได้ริเริ่มโครงการการเข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญตามพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ปี 2556 ที่ให้สิทธิประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คน สามารถเสนอร่างรัฐธรรมนูญให้รัฐสภาพิจารณาได้ภายใต้ชื่อแคมเปญ “ร่วมรื้อ ร่วมสร้าง ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ” โดยมีสาระสำคัญสองส่วนคือ การรื้อกลไกสืบทอดอำนาจคสชอาทิ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่มาจากแต่งตั้ง และ การสร้างกลไกกลับสู่ประชาธิปไตยด้วยการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยประชาชน

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมาย เล่าถึงการเคลื่อนไหวแก้รัฐธรรมนูญโดยภาคประชาชนในขณะนั้นว่า ตอนนั้น ภาคประชาชนใช้สิทธิการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ตามกฎหมายเก่า (ปี 2556) ทำให้ประชาชนต้องคอยมาต่อคิวกันครั้งละเป็นพัน เวลาที่ไอลอว์และเครือข่ายไปตั้งโต๊ะล่ารายชื่อ เพราะการเข้าชื่อตามกฎหมายดังกล่าวต้องใช้สำเนาบัตรประชาชน และต้องมีการเซ็นลงลายมือชื่อ ทำให้ต้องใช้เวลาและความทุ่มเทพยายามอย่างมาก แต่สิ่งที่ทำให้เข้าประหลาดใจคือ .ว. ไม่ได้ให้ความสนใจกับข้อเสนอของภาคประชาชนมากนัก

ยิ่งชีพ กล่าวว่า วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ตนได้เข้าไปชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญอยู่ในสภา ในขณะที่ประชาชนที่มาชุมนุมติดตามการประชุมสภาต้องเผชิญหน้ากับกองกำลังเจ้าหน้าที่ มีการใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม ทั้งกำลัง แก๊สน้ำตา รถน้ำ กระสุนยาง รวมไปถึงมีรายงานการใช้กระสุนจริง แต่ในระหว่างการชี้แจง พบว่า ไม่มีสมาชิกรัฐสภาฟังการพิจารณามากเท่าควร

“ตอนที่เราอภิปรายเรื่องร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนเสนอมา ก็แทบไม่มีใครอยู่ฟังเลย ก่อนขึ้นไปพูดผมก็เตรียมตัวมาอย่างเต็มที่ แต่พอพูดเสร็จเงยหน้าขึ้นมาก็พบว่าไม่มีใครฟังอยู่เลย นี่คือเบื้องหลังที่ผมเจอ” ยิ่งชีพ กล่าว

แต่ในท้ายที่สุด ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่มีคนลงชื่อรวมกันหลักแสนก็ถูกปัดตกเพราะได้รับเสียงเห็นชอบจากสมาชิกรัฐสภาไม่ถึงกึ่งหนึ่ง และได้รับเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. ไม่ถึงหนึ่งในสาม ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการแก้ไขรัฐธรรมนูญตั้งแต่วาระแรก 

ต่อมาในเดือนเมษายน 2564 เครือข่ายภาคประชาชนและกลุ่มการเมืองในนาม Re-solution ได้พยายามเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนใหม่อีกครั้ง โดยหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญ คือ พริษฐ์ วัชรสินธุ อดีตผู้สมัครรับเลือก .ส. พรรคประชาธิปัตย์ และแกนนำกลุ่มรัฐธรรมนูญก้าวหน้า โดยมาพร้อมกับข้อเสนอ อาทิ “รื้อระบอบประยุทธ์” เช่น ยกเลิก ส.ว.-เดินหน้าสภาเดี่ยว

พริษฐ์ วัชรสินธุ กล่าวถึงการเคลื่อนไหวในคร้งนั้นว่า กลุ่มของตนมาเริ่มเคลื่อนไหวหลังจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนฉบับแรกถูกปัดตก และการเคลื่อนไหวของตัวเองก็เป็นเหมือนการต่อสู้ในยกที่สาม โดยยกแรกเป็นการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญนำโดย iLaw ยกที่สองเป็นการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคการเมืองเรื่องระบบเลือกตั้ง และ ยกที่สามเป็นร่างของกลุ่ม Re-solution ซึ่งตอนนั้น มีความโชคดีอยู่หนึ่งประการคือ มีการประกาศใช้ พ.ร..การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ฉบับใหม่ (ปี 2564) ทำให้การเข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ผ่านระบบออนไลน์ และไม่ต้องใช้สำเนาบัตรประชาชนอีกต่อไป

พริษฐ์ เล่าถึงบรรยากาศการชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญของตนเองว่า “สิ่งที่ผมเจอก็จะคล้ายๆคุณยิ่งชีพคือไม่ค่อยมีคนฟัง ตอนนั้นผมคิดว่าเขาอาจจะแย้งยังไงเลยชี้แจงหลายๆเรื่องไปตั้งแต่ต้น พอผมพูดจบแล้วคนอื่นมาเสนอเขาก็ให้ผมไปพูดใหม่ ทั้งๆที่ผมพูดไปแล้ว”

และในท้ายที่สุด ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนฉบับที่สองก็ถูกปัดตกอีกเช่นเดียวกัน โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้รับเสียงเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภา และได้รับเสียงเห็นชอบจาก .ว. เพียง 3 เสียง ซึ่งไม่ถึงหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้ร่างรัฐธรรมนูญที่จะผ่านวาระหนึ่งไปได้ ต้องได้รับเสียงเห็นชอบจาก .ว. ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม หรือ ประมาณ 84 เสียง

อย่างไรก็ดี การเคลื่อนไหวแก้รัฐธรรมนูญโดยภาคประชาชนก็มีผู้มาสานต่อ โดยกลุ่ม “No 272 ยกเลิกอำนาจส..โหวตนายก” ที่มี สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง และ ณัฏฐา มหัทธนา นักเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นแกนนำ ภายใต้ข้อเสนอเดียวคือ ยกเลิกรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 หรือที่เรียกกันว่า ข้อเสนอ”ปิตสวิตซ์ .ว.” ตามบทเฉพาะกาลที่ให้อำนาจร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี และกลายเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีกครั้งหลังการเลือกตั้ง ซึ่งร่างดังกล่าวจะถูกพิจารณาโดยรัฐสภาในเดือนมิถุนายน 2565 เป็นอย่างเร็วที่สุด

ทบทวนและประเมินความเป็นไปได้ของการ “ปิตสวิตว์ ส.ว.” 

ณัฏฐา มหัทธนา แกนนำกลุ่ม “No 272 ยกเลิกอำนาจ ..โหวตนายก” อธิบายว่าเหตุที่ต้องเสนอยกเลิกแค่มาตราเดียว เพราะต้องการลด “ข้ออ้างทางการเมือง” ในการปฏิเสธข้อเสนอปิดสวิตซ์ .เนื่องจากการเสนอร่างรัฐธรรมนูญทั้งของ iLaw และ Re-solution เป็นการเสนอแบบมัดรวมหลายๆ มาตรา เข้าด้วยกัน

“พอเหลือมาตราเดียวมันก็จะสื่อสารง่ายในเรื่องของเนื้อหาไม่มีใครปฏิเสธว่ามันไม่สมเหตุสมผล หรือถูกต้องชอบธรรม ไม่ว่าจะ ..ฝ่ายไหน ..คนไหนก็เห็นตรงกันหมด อย่าง ..ฝ่ายค้านไม่มีติดอยู่แล้ว ทุกคนเคยยื่นมาแล้ว ไม่ว่าจะภูมิใจไทยหรือประชาธิปัตย์ก็เคยยื่นกันมาแล้วเหมือนกัน ดังนั้น .เกือบทั้งสภาไม่อยากให้ ..มีอำนาจโหวตเลือกนายกอยู่แล้ว เพราะเขาเป็นส.เขาเป็นตัวแทนประชาชน” ณัฏฐา กล่าว

ด้าน พริษฐ์ วัชรสินธุ ตัวแทนกลุ่ม Re-solution ประเมินว่า เมื่อร่างรัฐธรรมนูญของกลุ่ม No 272 เข้าสภา จะต้องเจอกับการให้เหตุผลเดิมๆ อาทิ ร่างรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติ เมื่อปี 2559 มาแล้ว ดังนั้น ตนจึงอย่างจะฝากข้อโต้แย้งไปยัง .ได้แก่ หนึ่ง การทำประชามติดังกล่าวไม่เป้นไปตามหลักสากล คนที่ออกไปรณรงค์คัดค้านถูกจับกุมดำเนินคดี มีการตั้งคำถามในลักษณะที่ชี้นำ สอง ประชาชนให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แปลว่าเห็นชอบกับการที่รัฐสภาจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรา 272 ได้ สาม รัฐธรรมนูญ ปี2560 ได้ถูกแก้ไขมาแล้วเรื่องระบบเลือกตั้ง และมี .ที่เห็นชอบด้วยถึง 210 คน

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ประเมินว่า ที่ผ่านมา ร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนทั้งสองฉบับมีการเสนอหลายเรื่องและการยกเลิก มาตรา 272 เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่ง .เองก็หาเหตุผลที่ตนเองจะต้องมีอำนาจในการร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีไม่ได้ และเราไม่เคยเห็นการอภิปรายในสภาใดๆ ว่า ทำไม .ถึงต้องมีอำนาจร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี เว้นแต่บอกผ่านการลงประชามติ และการมีกลไกเหล่านี้ รั้งแต่จะทำให้ประยุทธ์และพรรคพวกอับอายเพราะแม้แต่ ดร.เวทิน นักวิชาการประจำสถาบันทิศทางไทยก็อธิบายไม่ได้ว่าทำไมต้องสนับสนุน .ในประเด็นนี้ 

“หลังจากปี 64 ความตื่นตัวของสังคมไทยมีมาก การที่ประยุทธ์เป็นนายกฯ ก็จะทำให้ประชาชนตื่นตัวมากกว่าเดิม ผมว่าเราเห็นอะไรมามากในสัปดาห์ที่ผ่านมา การที่ร่างสมรสเท่าเทียมที่ถูกเสนอโดยพรรคก้าวไกลผ่านแม้ตอนแรกพรรคอื่นจะไม่เห็นด้วย แต่กระแสสองปีที่ผ่านมาทำให้กระแสบีบให้เขาต้องรับร่างนี้ เพราะถ้าเขายังต้องการจะมีที่ยืนในสังคมนี้ เขาก็ต้องรับร่างนี้ ดังนั้น ถ้าสังคมตื่นตัว และเหตุผลในข้อเสนอแข็งแรงมากพอ เราก็จะยังได้เห็นอะไรอีกมากในประเทศนี้” ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ กล่าว