อ.นิเทศจุฬาชี้ พรบ.คอมฯ สร้างภาระผู้ให้บริการเน็ต

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2553 ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ และภาควิชาปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับเครือข่ายพลเมืองเน็ต ได้จัดเวทีสัมมนาสาธารณะเพื่อแลกเปลี่ยนทางวิชาการภายใต้ชื่อ การเมืองเรื่องอินเทอร์เน็ตและภาระของตัวกลาง ที่ ห้องประชุมสมาคมนิสิตเก่า คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนองานวิจัยเรื่อง “การปิดกั้นและกลั่นกรองเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตภายหลังการมีรัฐประหาร ปี 2549” โดย ผศ.ดร.พิรงรอง มองว่าอินเทอร์เน็ต คือสื่อเดียวที่มีพื้นที่รองรับมากกว่าสื่ออื่นๆ และรัฐไม่สามารถจำกัดการแสดงออกทางการเมือง และเมื่ออินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถแสดงออกทางการเมืองได้อย่างเป็นวงกว้าง รัฐจึงต้องออกกฎหมายเพื่อมาควบคุมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต นั่นก็คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ..2550 (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์)

ผศ.ดร.พิรงรอง อธิบายถึง ที่มาของ พ...ดังกล่าวว่า ในปี 2550 มีการโพสคลิปหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างชัดเจนลงในเว็บไซด์ยูทูป จึงทำให้รัฐบาลชั่วคราวในขณะนั้นเร่งออกกฎหมายนี้มาบังคับใช้ โดยในพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดว่าการบล็อคเว็บไซด์นั้น เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 20 รวมถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต้องรับภาระดูแลไม่ให้มีการกระทำผิดกฎหมาย
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต้องเป็นผู้ที่กลั่นกรอง รับภาระในการดูแลผู้ที่กระทำความผิดในเว็บไซด์ของตน รวมถึงต้องเก็บล็อคไฟล์ไว้ 90 วัน ทำให้เว็บไซด์ต่างๆได้รับผลกระทบผศ.ดร.พิรงรองกล่าว ซึ่งหากพบผู้กระทำผิดแล้วผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพิกเฉยก็ต้องรับผิดเสมือนผู้กระทำ เช่น เว็บไซด์ มหาวิืทยาลัยเที่ยงคืน ประชาไท ฟ้าเดียวกัน เป็นต้น
ทางด้านนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวถึงผลสำรวจขององค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนว่าเสรีภาพสื่อของไทยตกต่ำเป็นอย่างมาก อยู่ในลำดับต่ำกว่าประเทศกัมพูชา
ทั้งนี้นายชวรงค์ มองว่า ปัจจุบัน สิ่งที่รัฐบาลกลัวที่สุดคืออินเทอร์เน็ต เพราะควบคุมไม่ได้ ในยุคหนึ่งกลุ่มผู้สนับสนุน พ...ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ใช้อินเทอร์เน็ตในการตอบโต้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติในขณะนั้น ทำให้ต้องเร่งออก พรบ.คอมฯ
อย่างไรก็ตาม นายชวรงค์ กล่าวว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายความผิดทางคอมพิวเตอร์นั้นก็เพื่อจัดการกับคนที่คุกคาม ก่อให้เกิดความเสียหายแก่คนอื่น แต่ต่อมาถูกบิดเบือนมาเป็นลิดรอนการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่เป็นสิทธิชองประชาชนทุกคน
ด้านนายทิวสน สีอุ่น กรรมการเครือข่ายพลเมืองเน็ต ผู้คอยติดตามเก็บข้อมูลคดีความ ซึ่งถูกฟ้องด้วย พ...คอมพิวเตอร์ กล่าวถึงความกำกวมของการปิดกั้นเว็บไซด์ ว่า รัฐต้องเปิดเผยว่ามีการบล็อคอะไรบ้าง เพื่อประชาชนจะได้ตรวจสอบ ไม่ให้รัฐใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ในทางการเมือง
การที่ พ... คอมพิวเตอร์ มีกำหนดข้อบังคับต่างๆ เช่น การเก็บรักษาข้อมูล 90 วัน ค่าใช้จ่ายสำหรับการเพิ่มพื้นที่เซิร์ฟเวอร์ หรือ คนควบคุม จะทำให้ไม่เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ขึ้นมา และไม่มีการแยกความรับผิดอย่้างชัดเจนระหว่างผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต กับผู้ดูแลเว็บไซด์” นายทิวสนกล่าว
นอกจากนี้นายทิวสนยังให้ข้อสังเกตว่า พ...คอมพิวเตอร์ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการยึดตัวคอมพิวเตอร์ หรือขอข้อมูลจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต แต่ปัญหาคือ อำนาจนี้ไม่เป็นที่รับรู้ของคนทั่วไป เพราะเท่าที่ผ่านมา ผู้ถูกจับกุมตามกฎหมายนี้ไม่ทราบถึงสิทธิของตัวเอง ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้ถูกจับ
ภาพหน้าแรก : woodleywonderworks