เปิดชื่อ กมธ. #แก้รัฐธรรมนูญ นั่งหลายชุด แก้หลายรอบ แต่รัฐธรรมนูญไม่เคยผ่าน

23 – 24 มิถุนายน 2564 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีนัดพิจารณาร่าง #แก้รัฐธรรมนูญ 13 ฉบับ จากผลการลงมติในวันที่ 24 มิถุนายน 2564 มีร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมเพียงหนึ่งฉบับ ที่รัฐสภา “รับหลักการ” คือ ร่าง #แก้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 13 ซึ่งแก้ไขเรื่องระบบเลือกตั้ง ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 552 เสียง (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 342 เสียง สมาชิกวุฒิสภา 210 เสียง) ไม่เห็นด้วย 24 เสียง งดออกเสียง 130 เสียง โดยร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จากพรรคร่วมรัฐบาลหลายพรรคที่ร่วมกันลงชื่อเสนอ ได้แก่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ส.ส.พรรคภูมิไทย และ ส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนา แต่ก็มี ส.ส. อีกหนึ่งคนจากพรรคฝ่ายค้าน ที่ร่วมลงชื่อเสนอร่างดังกล่าวด้วย คือ คารม พลพรกลาง ส.ส. พรรคก้าวไกล
ภายหลังจากที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาลงมติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมทั้ง 13 ฉบับเรียบร้อยแล้ว เมื่อกระบวนการนับคะแนนเสร็จสิ้น จึงมีการตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (กมธ.) เพื่อพิจารณาปรับแก้รายละเอียดเชิงเนื้อหาของร่าง ภายหลังจากที่ กมธ. พิจารณาปรับแก้เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงจะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาในวาระสอง เพื่อลงมติในรายมาตราว่าเห็นชอบกับร่างเดิมที่รัฐสภารับหลักการไปในวาระหนึ่ง หรือเห็นด้วยกับร่างที่ กมธ. เสียงข้างมากแก้ไข หรือเห็นด้วยกับข้อเสนอในการแก้ไขอื่นๆ ของ กมธ. เสียงข้างน้อย หรือเห็นด้วยกับคำแปรญัตติของสมาชิกรัฐสภา โดย กมธ. ที่รับบทบาทสำคัญในศึกการแก้รัฐธรรมนูญที่สองครั้งนี้ มีทั้งสิ้น 45 คน แบ่งเป็น ส.ส. 30 คน และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 15 คน
เปิดรายชื่อ 45 กมธ. #แก้รัฐธรรมนูญ2 ส.ส. ก้าวไกล โผล่นั่งกมธ. โควตาภูมิใจไทย
ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีมติตั้ง กมธ. ทั้งสิ้น 45 คนเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม แบ่งเป็น ส.ส. 30 คน และ ส.ว. 15 คน ดังนี้
ส.ว. จำนวน 15 คน ได้แก่
1. กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ 
2. กิตติ วะสีนนท์ 
3. คำนูณ สิทธิสมาน 
4. จเด็จ อินสว่าง 
5. เจตน์ ศิรธรานนท์ 
6. ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม 
7. ถวิล เปลี่ยนศรี 
8. พลเอก นาวิน ดำริกาญจน์ 
9. พลเรือเอก พัลลภ ตมิศานนท์ 
10. มหรรณพ เดชวิทักษ์ 
11. ศรีศักดิ์ วัฒนพรมงคล 
12. สมชาย แสวงการ 
13. สุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ 
14. เสรี สุวรรณภานนท์ 
15. ประสิทธิ ปทุมารักษ์ 
ในบรรดา กมธ. ที่เป็น ส.ว. มี 13 คนที่ “รับหลักการ” ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 13 มี กมธ. ที่เป็น ส.ว. หนึ่งคน ลงมติ “งดออกเสียง” คือ คำนูณ สิทธิสมาน และมีหนึ่งคนที่ลงมติ “ไม่รับหลักการ” คือ พลเอก นาวิน ดำริกาญจน์
ส.ส. จากโควตาพรรคเพื่อไทย จำนวนแปดคน ได้แก่
1. สุทิน คลังแสง
2. ชลน่าน ศรีแก้ว 
3. องอาจ วงษ์ประยูร
4. สมบัติ ศรีสุรินทร์
5. นิรมิต สุจารี
6. จตุพร เจริญเชื้อ
7. สมคิด เชื้อคง 
8. สงวน พงษ์มณี 
ส.ส. จากโควตาพรรคพลังประชารัฐ จำนวนแปดคน ได้แก่
1. ไพบูลย์ นิติตะวัน ผู้เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่หนึ่ง ซึ่งถูกตีตกไป โดยได้เสียง “รับหลักการ” ถึง 334 เสียง แต่เสียง ส.ว. ที่รับหลักการ มี 0 เสียง ไม่ถึง 81 เสียงที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องมี ส.ว. เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามจากจำนวน ส.ว. ทั้งหมด 
2. รองศาสตราจารย์รงค์ บุญสวยขวัญ 
3. สุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์
4. สมศักดิ์ คุณเงิน
5. พรรณสิริ กุลนาถศิริ
6. พรชัย ตระกูลวรานนท์
7. จักรพันธ์ พรนิมิต
8. วิรัช รัตนเศรษฐ 
ส.ส. จากโควตาพรรคภูมิใจไทย จำนวนสี่คน ได้แก่
1. ศุภชัย ใจสมุทร 
2. ฐิตินันท์ แสงนาค 
3. ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ
4. คารม พลพรกลาง ส.ส. พรรคก้าวไกล แต่ได้เป็น กมธ. ในโควตาพรรคภูมิใจไทย
ส.ส. จากโควตาพรรคก้าวไกล จำนวนสามคน ได้แก่
1. รังสิมันต์ โรม 
2. ปดิพัทธ์ สันติภาดา
3. ธีรัจชัย พันธุมาศ 
ส.ส. จากโควตาพรรคประชาธิปัตย์ จำนวนสามคน ได้แก่
1. บัญญัติ บรรทัดฐาน 
2. ชินวรณ์ บุณยเกียรติ 
3. ชัยชนะ เดชเดโช
ส.ส. จากพรรคชาติไทยพัฒนา จำนวนหนึ่งคน ได้แก่ 
1. นิกร จำนง 
ส.ส. จากพรรคเสรีรวมไทย จำนวนหนึ่งคน ได้แก่ 
1. นภาพร เพ็ชร์จินดา
ส.ส. จากพรรคประชาชาติ จำนวนหนึ่งคน ได้แก่ 
1. กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ
ส.ส. จากพรรคเศรษฐกิจใหม่ จำนวนหนึ่งคน ได้แก่ 
1. สุภดิช อากาศฤกษ์
ทั้งนี้ กมธ. ชุดนี้จะเริ่มประชุมครั้งแรก 29 มิถุนายน 2564 เวลา 10.00 น. 
เปิดชื่อ กมธ. หน้าเก่าเจ้าเดิม เป็น กมธ. #แก้รัฐธรรมนูญ ถึงสองชุด
หากย้อนไปดูศึกการแก้รัฐธรรมนูญคราวก่อน วันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีมติ “รับหลักการ” ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมสองฉบับที่เสนอโดย ส.ส. พรรครัฐบาล และ ส.ส.พรรคเพื่อไทย โดยมีสาระสำคัญ คือ แก้วิธีการแก้รัฐธรรมนูญ และแก้บทบัญญัติว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ภายหลังจากที่ประชุมรัฐสภา “รับหลักการ” ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังกล่าวในวาระหนึ่ง ก็ตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1)เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม และเข้าสู่การพิจารณาวาระสอง เมื่อ 24-25 กุมภาพันธ์ 2564 แต่ท้ายที่สุด 17 มีนาคม 2564 ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อตั้ง สสร. มาจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ก็ถูกคว่ำ เมื่อที่ประชุมร่วมของรัฐสภามีมติเห็นชอบในวาระสาม เพียง 208 เสียง ซึ่งไม่เกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา
ทั้งนี้ หากย้อนดู กมธ. แก้รัฐธรรมนูญชุดที่แล้ว พบว่ามีสมาชิกรัฐสภาถึง 23 คน ที่ได้เป็น กมธ. #แก้รัฐธรรมนูญ2 เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเรื่องระบบเลือกตั้ง แบ่งเป็น กมธ. ที่เป็น ส.ว 10 คน และ กมธ. ที่เป็น ส.ส. 13 คน ดังนี้
ส.ว. จำนวน 10 คน ได้แก่
1. กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ 
2. คำนูณ สิทธิสมาน 
3. จเด็จ อินสว่าง 
4. เจตน์ ศิรธรานนท์ 
5. ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม 
6. ถวิล เปลี่ยนศรี 
7. มหรรณพ เดชวิทักษ์ 
8. สมชาย แสวงการ 
9. สุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ 
10. เสรี สุวรรณภานนท์ 
ส.ส. จำนวน 13 คน ได้แก่
1. ชลน่าน ศรีแก้ว 
2. สมคิด เชื้อคง 
3. สงวน พงษ์มณี 
4. ไพบูลย์ นิติตะวัน 
5. รองศาสตราจารย์รงค์ บุญสวยขวัญ 
6. วิรัช รัตนเศรษฐ 
7. ศุภชัย ใจสมุทร 
8. ฐิตินันท์ แสงนาค 
9. รังสิมันต์ โรม 
10. ธีรัจชัย พันธุมาศ 
11. บัญญัติ บรรทัดฐาน 
12. ชินวรณ์ บุณยเกียรติ 
13. นิกร จำนง 
เปิดชื่อ ส.ส. ส.ว. ที่เป็น กมธ. แก้รัฐธรรมนูญทั้งสองชุด แถมเป็น “กมธ. ถ่วงเวลา” #แก้รัฐธรรมนูญ 
หากย้อนถอยกลับไปอีก ก่อนการแก้รัฐธรรมนูญครั้งแรก วันที่ 23-24 กันยายน 2563 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภามีนัดพิจารณาวาระแก้รัฐธรรมนูญจำนวนหกญัตติที่เสนอโดย ส.ส. ทั้งจากพรรคฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล แต่ท้ายที่สุด รัฐสภาไม่ได้ลงมติ “รับหลักการ” หรือไม่รับในประเด็นใดเลย แต่กลับมีการลงมติเพื่อตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. ก่อนรับหลักการ ท่ามกลางการคัดค้านของ ส.ส. พรรคฝ่ายค้าน เพราะเห็นว่า จะเป็นการ “ถ่วงเวลา” แก้รัฐธรรมนูญให้ทอดยาวออกไปโดยไม่จำเป็น
เมื่อย้อนไปสำรวจดู พบว่ามีผู้ที่เป็น กมธ. แก้รัฐธรรมนูญทั้งสองชุด และที่เคยเป็น “กมธ. ถ่วงเวลา” ทั้งหมด 15 คน แบ่งเป็น ส.ว. 9 คน และ ส.ส. 6 คน (เฉพาะ ส.ส. พรรครัฐบาล เนื่องจาก ส.ส. พรรคฝ่ายค้านบอยคอตการตั้ง กมธ.ชุดนี้) ดังนี้ 
ส.ว. ที่เป็นกมธ. แก้รัฐธรรมนูญทั้งสองชุดและเคยเป็น “กมธ. ถ่วงเวลา” ได้แก่
1. กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์  
2. จเด็จ อินสว่าง 
3. เจตน์ ศิรธรานนท์ 
4. ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม 
5. ถวิล เปลี่ยนศรี 
6. มหรรณพ เดชวิทักษ์ 
7. สมชาย แสวงการ 
8. สุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ 
9. เสรี สุวรรณภานนท์ 
ส.ส. ที่เป็นกมธ. แก้รัฐธรรมนูญทั้งสองชุดและเคยเป็น “กมธ. ถ่วงเวลา” ได้แก่
1. ไพบูลย์ นิติตะวัน 
2. รองศาสตราจารย์รงค์ บุญสวยขวัญ 
3. วิรัช รัตนเศรษฐ 
4. ศุภชัย ใจสมุทร 
5. ชินวรณ์ บุณยเกียรติ 
6. นิกร จำนง