เลือกตั้ง 62: แต้มต่อ ส.ส.พลังดูด อย่างน้อย 47 ที่นั่ง กลเกมสืบทอดอำนาจที่ไม่ยากสำหรับพลังประชารัฐ

หลังการสมัครเลือกตั้งผ่านไป และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศรับรองคุณสมบัติของผู้สมัครแล้ว เราได้เห็นหน้าค่าตาของผู้สมัคร .. ชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่า “ใครเป็นใครบ้าง” และแต่ละพรรคมีขุนพลที่เข้มแข็งเพียงใด สำหรับพรรคพลังประชารัฐ’ ที่มีกระแสพลังดูดไปดึงเอาอดีตผู้สมัคร .. จากพรรคอื่นแทบทุกพรรคมาลงสมัครในนามพรรคตัวเองตั้งแต่ช่วงปีที่แล้ว จึงน่าหยิบยกขึ้นมาพิจารณาเป็นพิเศษในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนวันเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562

บรรดา ส.. ที่พรรคพลังประชารัฐดูดมาต่างก็ลงสมัครสู้ศึกเลือกตั้งปี 2562 ด้วย พร้อมกับเสนอชื่อ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งมาเกือบ 5 ปี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีในนามของพรรคพลังประชารัฐ

ด้วยบารมีของเหล่า ส.. ที่ย้ายพรรคมา ก็ไม่ได้มาแค่ตัวและชื่อเสียงเท่านั้น แต่ละคนต่างก็มี “บุญเก่าหรือกลุ่มผู้สนับสนุนเดิมที่ติดตัวมาด้วย มากน้อยต่างกัน แต่หากกลุ่มผู้สนับสนุนเดิมยังคงเลือก .. เจ้าของพื้นที่หน้าเดิมอยู่ในการเลือกตั้งปี 2562 ทุกคะแนนก็จะนำไปสนับสนุนพรรคพลังประชารัฐและสนับสนุนให้ พล..ประยุทธ์ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ด้วย 

เมื่อพิจารณาจากผลการเลือกตั้งในปี 2554 จะเห็นว่า ส.. แบบแบ่งเขต ที่ย้ายมาพรรคพลังประชารัฐ จำนวน 80 คน แต่ละคนเคยมีคะแนนสนับสนุนจากประชาชนอยู่ไม่น้อย หากพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป และตัดสินใจเลือกผู้สมัครคนเดิมทั้งหมด พรรคพลังประชารัฐก็จะมีคะแนนตุนอยู่ในกระเป๋าแล้วจำนวนมาก แต่ว่า ก็ยังไม่อาจคิดคำนวนได้ง่ายๆ เพราะอดีตผู้สมัคร .. ทั้ง 80 คน ที่ย้ายค่ายมา ไม่ได้ถูกส่งลงสมัครในระบบแบ่งเขตที่เขตเดิมทุกคน 

อดีตผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต ปี 2554 คน ถูกส่งลงสนามในจังหวัดเดิม ในบางจังหวัดมีการเปลี่ยนเขตเลือกตั้ง ส่วนหนึ่งเนื่องจากการแบ่งเขตเลือกตั้งครั้งนี้เปลี่ยนแปลงไปด้วย จำนวน 26 คน นอกจากนี้ยังมีการส่งคนที่มีนามสกุลเดียวกันลงสมัครแทนในเขตเลือกตั้งเดิม ของอดีต ส.ส. ปี 2554 จำนวน 14 คน คะแนนติดตัวของ ส.. พลังดูดเหล่านี้ จะช่วยพรรคพลังประชารัฐตุนไว้ถึง 47 ที่นั่ง จำนวนนี้ได้มาอย่างไร ก่อนอื่นมาสำรวจรายชื่อ .. ระบบพลังดูดกันก่อน 

จากตารางรายชื่อ ส.. ที่ถูกดูดมาข้างต้นนี้ หากนำข้อมูลจากผลการเลือกตั้งในปี 2554 มาเป็นฐานในการคิด นับเฉพาะกรณีของอดีต ส.. พรรคอื่นที่ถูกดูดมาอยู่พรรคพลังประชารัฐ และในรอบนี้ถูกส่งลงเป็นผู้สมัคร ส.. แบบแบ่งเขตในการเลือกตั้ง 2562 ในเขตคล้ายๆ เดิม ก็จะพบว่า มีผู้สมัคร 35 คน ที่เคยชนะการเลือกตั้งระบบแบ่งเขตอยู่ และถ้าการออกเสียงของประชาชนยังไม่เปลี่ยนก็มีโอกาสจะชนะการเลือกตั้งกลับเข้าสู่สภาได้อีกครั้ง

ส่วนจำนวนที่นั่ง ส.. ในระบบปาร์ตี้ลิสต์ ต้องคิดคำนวนแบบใหม่ด้วยระบบจัดสรรปันส่วนผสมหรือ Mixed Member Apportionment System (MMA) ซึ่งเป็นสูตรที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 และ พ...เลือกตั้งฯ มาตรา 128 เราจึงจะพอทราบถึงจำนวนเก้าอี้ ส.. ที่พรรคพลังประชารัฐอาจจะได้ 

แต่ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อนว่าระบบ MMA คิดอย่างไร 

ขั้นตอนการคิด คือ

(1) นำจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศ ไม่รวมบัตรเสียเป็นตัวตั้ง หารด้วยจำนวน ส.. ทั้งหมด คือ 500 จะได้ผลลัพธ์เป็นตัวเลขชุดหนึ่ง ที่อนุมานว่า เป็นค่าเฉลี่ยของจำนวนประชากรต่อ ส.. หนึ่งที่นั่ง

(2) เมื่อจะหาจำนวน ส.. ของพรรคการเมืองใด ก็นำคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองนั้นได้จากการเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตมาเป็นตัวตั้ง แล้วนำตัวเลขที่ได้จากข้อ (1) ไปหาร ผลลัพธ์จะเป็นจำนวน ส.. ที่พรรคการเมืองนั้นควรจะมีได้ในการเลือกตั้งครั้งนี้

(3) นำจำนวน ส.. ที่พรรคการเมืองนั้นควรจะมีได้ จากข้อ (2) มาเป็นตัวตั้ง ลบด้วยจำนวน ส.. แบบแบ่งเขตทั้งหมดที่พรรคการเมืองนั้นได้มาแล้ว ผลลัพธ์ คือจำนวน ส.. จากระบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับ

อ่านเรื่องระบบการเลือกตั้งใหม่ และ MMA เพิ่มที่ : https://ilaw.or.th/node/5059

เมื่อเข้าใจสูตร MMA แล้ว คราวนี้ลองนำคะแนนติดตัวของ ส.. ที่พรรคพลังประชารัฐดูดมา แทนค่า แล้วคำนวณตามสูตร ได้ดังนี้ 

(1) นำจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งในปี 2554 ไม่นับบัตรเสีย ไม่นับโหวตโน คือ 31,760,968 คน หารด้วย จำนวน ส.. ทั้งสภา คือ 500 จะได้เท่ากับ 63,521 

(2) ต่อมา นำคะแนนที่พรรคพลังประชารัฐได้จาก ส.. ระบบแบ่งเขต 80 คน ทั้งหมด คือ 2,628,017 (คะแนนติดตัวของ ส.. ที่ดูดมาได้ และลงสมัคร ส.. เขตในปี 2562 ไม่รวมสีแดง และสีเหลือง) หารด้วย 63,521 ก็จะได้จำนวน ส..ที่พรรคนั้นควรจะได้ เท่ากับจำนวน 41 คน 

(3) แต่เนื่องจาก ส.. ที่พรรคพลังประชารัฐดูดมาชนะเขตเลือกตั้งไป 35 คน เมื่อนำมาคิดด้วยสูตรคำนวณในบรรทัดสุดท้าย คือ 41-35 เท่ากับว่า พรรคพลังประชารัฐ จะได้ ส..แบบบัญชีรายชื่อ 6 คน ดังนั้น เมื่อรวมกับที่นั่ง ส..ที่ชนะเขต อย่างน้อยๆ ก็ 35 คนแล้ว บวกกับที่นั่ง ส..บัญชีรายชื่อ 6 คน พรรคพลังประชารัฐจะได้ที่นั่ง ส.. ทั้งหมด 41 คน

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่ม อดีต ส.. ที่เคยชนะเขต และมีคะแนนสูง แต่ไม่ได้ลงสมัคร ส.. เขตในการเลือกตั้ง 2562 จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า ปรากฏชื่อผู้สมัคร ส..เขต พรรคพลังประชารัฐ ที่มีนามสกุลเดียวกับ อดีต ส.. เหล่านี้ ซึ่งมีความสัมพันธ์เป็นคนในครอบครัว อาจกล่าวได้ว่าผู้สมัคร ส.. เขต พรรคพลังประชารัฐที่มาสู้ศึกในรอบนี้เป็นตัวแทนของ อดีต ส.. ที่อาจโกยคะแนนจำนวนไม่น้อยให้กับพรรคพลังประชารัฐได้ ดังตารางต่อไปนี้ 

ตารางครือญาติ อดีตผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต ปี 2554 และ ผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตพรรคพลังประชารัฐ

ลำดับ

อดีตผู้สมัคร ส.ส. ปี 2554 

ผลการเลือกตั้ง

คะแนนปี 2554 ที่ได้

ผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตพรรคพลังประชารัฐ ปี 2562

 

ความสัมพันธ์

ราชบุรี

1

เขต 1 มานิต นพอบรมดี

(พรรคภูมิใจไทย)

 

ชนะ

35,150

เขต 1 กุลวดี นพอบรมดี

 

พ่อ-ลูก

นครสวรรค์

2

เขต 2 ดิสทัต คำประกอบ (พรรคเพื่อไทย)

ชนะ

25,513

เขต 2 วีระกร คำประกอบ

 

พี่-น้อง

มุกดาหาร

3

เขต 2 บุญฐิน ประทุมลี

(พรรคเพื่อไทย)

 

ชนะ

62,124

เขต 2 ทวีศักดิ์ ประทุมลี

 

ทวีศักดิ์เคยเป็นกองหนุนให้บุญฐิน แต่เลือกตั้ง 62ลงเป็นผู้สมัคร ส.ส.เขตพรรคพลังประชารัฐ

นครราชสีมา

4

เขต 5 ภิรมย์ พลวิเศษ

(พรรคภูมิใจไทย)

แพ้

16,880

 

เขต 5 อรทัย พลวิเศษ

สามี-ภรรยา

(สายตรงของ เนวินชิดชอบ)

ขอนแก่น

5

เขต 4 ณรงค์เลิศ สุรพล

(พรรคกิจสังคม)

แพ้

16,953

 

เขต 4 พิชิต สุรพล

 

ไม่ทราบความสัมพันธ์

6

เขต 7 จงรักษ์ คุณเงิน

(พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน)

 

แพ้

30,412

เขต 7 สมศักดิ์ คุณเงิน

 

พี่-น้อง

เชียงราย

7

เขต 1 วันชัย จงสุทธานามณี

(พรรคภูมิใจไทย)

 

แพ้

31,446

เขต 1 รัตนา จงสุทธานามณี

 

สามี-ภรรยา

ตาก

8

เขต 1 ธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ

(พรรคชาติไทยพัฒนา)

แพ้

16,554

 

(ธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจลงเขต 1 เขต 2 ทีฆะพล ทวีเกื้อกูลกิจ)

 

ธนัสถ์กับทีฆะพลเป็นพี่น้องกัน โดยมีพ่อเป็นผู้สนับสนุน  พ่อเป็น อบจ.ผู้มีอิทธิพล ในจังหวัด

 

เพชรบูรณ์

9

เขต 1 วิจิตร พรพฤฒิพันธุ์ (พรรคชาติไทยพัฒนา)

แพ้

32,950

 

เขต 1 พิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์

 

พี่-น้อง

 

ศรีสะเกษ

10

เขต 2 พิทยา บุญเฉลียว

(พรรคมาตุภูมิ)

 

แพ้

9,185

เขต 2 พิเชฐ บุญเฉลียว

 

พ่อ-ลูก

 

หนองบัวลำภู

11

เขต 1 สรชาติ วิชยสุวรรณพรหม (พรรคภูมิใจไทย)

แพ้

10,349

เขต 1 ศรัณยา สุวรรณพรหม

 

พี่-น้อง

อุบลราชธานี

12

เขต 9 สุชาติ ตันติวณิชชานนท์ (พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน)

แพ้

22,621

 

เขต 9 รำพูล ตันติวณิชชานนท์

 

สามี-ภรรยา

 

นครปฐม

13

เขต 3 อุษา เปี่ยมคล้า

(พรรคประชาธิปัตย์)

แพ้

33,367

 

เขต 3 พรศักดิ์ เปี่ยมคล้า

พ่อ-ลูก

เพชรบุรี

14

เขต 2 พิชัย อุ๋ยตระกูล

(พรรคเพื่อไทย)

 

 

34,963

เขต 2 สาธิต อุ๋ยตระกูล

พี่-น้อง

 

 

จากตารางครือญาติ อดีตผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต ปี 2554 และ ผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตพรรคพลังประชารัฐ ได้คะแนน 378,467 และเมื่อนำคะแนนเหล่านี้มาคิดรวมกับกลุ่ม อดีตผู้สมัคร .พลังดูดทั้ง 80 คน อาจทำให้พรรคพลังประชารัฐได้คะแนนมากถึง 3,006,484 คะแนน และอาจได้ .ที่ชนะเขตเพิ่มขึ้น 3 ที่นั่ง และเมื่อคิดคำนวณด้วยสูตร MMA จะได้เพิ่มมาอีก 3 ที่นั่ง เท่ากับว่าพรรคพลังประชารัฐจะได้ .แบบบัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้นอีก 6 ที่นั่ง ดังนั้น ถ้าหากรวมคะแนนจากกลุ่มนี้ด้วย พรรคพลังประชารัฐจะได้จำนวนเก้าอี้ ส.ส. ถึง 47 ที่นั่ง

.. พลังดูด 41 คน พอเสนอประยุทธ์เป็นนายกฯ ได้.. รอยกมือ

หากไม่รวมคะแนนกลุ่มเครือญาติ เอาแค่เฉพาะ ส.ส. เก่าที่ถูกดูดมาลงสู้ศึกให้กับพรรคพลังประชารัฐ ตัวเลข 41 ที่นั่ง อาจดูไม่มาก แต่ต้องย้ำว่านี่คือตัวเลขที่คิดเฉพาะ ส.. ที่ดูดมาจากพรรคอื่นเท่านั้น ซึ่งเป็นตัวเลขขั้นต่ำที่พรรคพลังประชารัฐอาจจะได้ หากการเลือก ส.. เขตของประชาชนออกเสียงเหมือนกับแปดปีที่แล้ว นอกจากนี้ในการเลือกตั้งปี 2562 ยังมีเขตอื่นๆ ที่พรรคพลังประชารัฐส่งผู้สมัครลงไปเพื่อเก็บคะแนนในอีก 335 เขต หลายคนเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ที่เพิ่งลงสนามการเมืองเป็นครั้งแรก

แต่ละเขตที่แม้ไม่มีเจ้าของพื้นที่เดิมที่ถูกดูดมา แต่ก็มีแนวโน้มว่า พรรคพลังประชารัฐน่าจะได้คะแนนจากแต่ละเขตบ้าง ซึ่งเมื่อนำมาคิดด้วยระบบ MMA จะทำให้มีผลรวมคะแนนทั้งประเทศเพิ่มขึ้น และทำให้พรรคนี้จะได้ตัวเลข ส.. ที่ควรจะมี ตามสูตรข้อ (2) เพิ่มขึ้นอีก 

อย่างไรก็ดี ตัวเลข ส.. 41 คนนี้ จะทำให้พรรคพลังประชารัฐ ที่แม้จะเป็นพรรคเกิดใหม่แต่ก็เดินลงสนามเลือกตั้งอย่างอุ่นใจว่ามีฐานเสียงจำนวนหนึ่งอยู่ในมือแล้ว และจะสามารถเดินตามแผนการสืบทอดอำนาจได้อย่างไม่ยากเย็น ภายใต้เงื่อนไขตามกติกาที่ต้องคำนึงถึงกันอย่างน้อยสองประเด็น

หนึ่ง มีเก้าอี้ .. 25 ที่นั่ง ก็สามารถเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ ของตัวเองได้

รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 159 กำหนดว่า ส.. ต้องพิจารณาเห็นชอบบุคคลที่สมควรแต่งตั้งเป็นนายกฯ จากบัญชีรายชื่อนายกฯ ที่พรรคการเมืองเสนอ อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าบุคคลที่อยู่ในบัญชีว่าที่นายกฯ ของทุกพรรคการเมืองจะมีสิทธิได้รับการเลือกเป็นนายกฯ เพราะนายกรัฐมนตรีจะต้องมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับเลือกตั้งเป็น ส.. ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ คือ จำนวน ส.. ทั้งหมด 500 คน พรรคการเมืองนั้นต้องมี ส.. อย่างน้อย 25 คน จึงจะเสนอชื่อนายกฯ ในบัญชีของตัวเองได้ นอกจากนี้ การเสนอชื่อนายกฯ ต้องมี ส.. รับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ หรือ ต้องมี ส.. อย่างน้อย 50 คน เป็นผู้รับรอง 

ด้วยจำนวน ส.. ในมือให้อุ่นใจ 41 ที่นั่งนี้เอง พรรคพลังประชารัฐก็พอจะสบายใจอยู่ว่า พรรคพลังประชารัฐจะมี ส.. ไม่ต่ำกว่า 25 ที่นั่ง และสามารถเสนอชื่อ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีได้อย่างไม่ยากเย็นอะไร 

กลเกมสืบทอดอำนาจที่ไม่ยากสำหรับพลังประชารัฐ
กลเกมสืบทอดอำนาจที่ไม่ยากสำหรับพลังประชารัฐ

สอง ขออีก ส.. 126 ที่นั่ง ส.. 250 รอโหวต

ด้วยกติกาใหม่ที่ คสช. ได้สร้างขึ้นมา เป็นกติกาที่ถูกออกแบบมาเพื่อหวังสืบทอดอำนาจนั้น ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560  มาตรา 272 กำหนดให้ ให้สมาชิกวุฒิสภา (..) สามารถทำหน้าที่ยกมือเลือกนายกรัฐมนตรีได้ โดย ส.. 250 คน มีที่มาจาก 3 ทาง  (1) .. โดยตำแหน่ง 6 คน (ผบ. เหล่าทัพ) (2) กลุ่มที่เลือกกันเอง (แล้ว คสช. เลือกอีกครั้งในขั้นตอนสุดท้าย) จำนวน 50 คน และ (3) กลุ่มที่คณะกรรมการสรรหา ส.. โดยมี พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน และคนของ คสช. เป็นกรรมการสรรหา คัดมาให้ คสช. คัดเลือกเหลือ 194 คน 

แม้จะมีการทำทีคัดเลือก ส.. แต่ท้ายสุด ส.. ทั้งหมดจะถูกเลือกโดย คสช.” นั่นเท่ากับว่า หาก คสช. จะสืบทอดอำนาจก็ทำได้ไม่ยากนัก ด้วย ส.. ที่มีในมืออยู่แล้ว 250+.. เพียงแค่ 126 คน ซึ่งหากพิจารณาจากคะแนนตุนในกระเป๋าของพรรคพลังประชารัฐ อาจจะมีที่นั่งแค่ประมาณ 41 คน เท่านั้น แม้จะได้เพิ่มจากการรวมคะแนนทุกเขตทั่วประเทศแล้วก็ยังห่างไกลจากตัวเลข 126 ที่นั่งที่ต้องใช้เพื่อให้พล..ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ตัวเลข ส.. 126 ที่นั่งที่แม้จะมาจากกติกาของ คสช. เอง ก็ยังไม่ใช้งานง่ายนัก พรรคพลังประรัฐยังต้องหวังที่จะไปรวบรวมที่นั่งจากพรรคการเมืองอื่นๆ ที่ประกาศสนับสนุน คสช. และกลุ่มพรรคการเมืองที่ยังไม่มีจุดยืนชัดเจนว่า จะเข้าร่วมกับฝั่งไหน ซึ่งมีอยู่จำนวนมากและอาจได้ที่นั่ง ส.. รวมกันเกิน 126 เสียงไปไม่น้อย ดังนั้น ด้วยกติกา และพลังดูดที่ คสช. สร้างเอาไว้ทั้งหมด จึงเดินไปในทิศทางที่จะส่งเสริมให้ พล..ประยุทธ์ กลับมาเป็นนายกได้อีกครั้งผ่านการเลือกตั้งครั้งนี้ 

อย่างไรก็ดี ต้องย้ำอีกครั้งว่านี่เป็นเพียงการคิดจากผลการเลือกตั้งในปี 2554 ซึ่งผ่านมาถึง 8 ปีแล้ว และสุดท้ายผลการเลือกตั้งจะออกมาเป็นอย่างไร 24 มีนาคม 2562 ประชาชนทุกคน คือผู้ตัดสินว่าพรรคพลังประชารัฐจะได้คะแนนเท่าไหร่