เลือกตั้ง 62: จำกัดการหาเสียงออนไลน์ ด้วยระเบียบหยุมหยิมของ กกต.

 

 

 

ในโลกยุคปัจจุบัน คนเกือบทั้งโลก ได้ใช้ช่องทางบนโลกออนไลน์ เพื่อติดต่อสื่อสารกันอย่างง่ายดาย เมื่อมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น แน่นอนว่าผู้สมัครและพรรคการเมือง รวมถึงประชาชนก็มุ่งหวังจะใช้ช่องทางโลกออนไลน์ในการสื่อสารกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำความรู้จักตัวตนของผู้สมัครคนนั้น และนโยบายของพรรคการเมือง ซึ่งในต่างประเทศ อย่างเช่น ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แคนดิเดตประธานาธิบดีฯ ต่างก็ใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียในการสื่อสารกับคนในประเทศและสังคมโลก แม้แต่ในการเลือกตั้งของไทยปี 2554 ที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดโอกาสให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองสามารถใช้สื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเต็มที่ ทว่าการเลือกตั้งปี 2562 กกต. ที่ถูกแต่งตั้งในรัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กลับออกระเบียบที่มาก็จำกัด ‘การหาเสียงออนไลน์’ ซึ่งถูกตั้งข้อสังเกตว่า อาจเป็นการปิดกั้นทำให้ประชาชนไม่สามารถทำความรู้จักผู้สมัครและพรรคการเมืองได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้สมัครและพรรคการเมืองหน้าใหม่ ซึ่งอาจทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบและไม่เป็นธรรม

 

ตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (กฎหมายเลือกตั้ง) ระบุถึงเรื่องการหาเสียงเลือกตั้งออนไลน์ไว้ใน มาตรา 70 ว่าการหาเสียงเลือกตั้งด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำได้ตามหลักเกณฑ์ที่ กกต. กำหนด แต่ห้ามมิให้ผู้ใดหาเสียงเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใดๆ นับตั้งแต่เวลา 18.00 นาฬิกา ของวันก่อนวันเลือกตั้ง 1 วัน โดยกำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีการที่ว่านั้นให้ กกต. หารือกับพรรคการเมือง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสื่อมวลชนทั้งสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งในกรณีความที่ปรากฎนั้นฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ กกต.กำหนด กกต.สามารถมีอำนาจแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลในเวลาที่กำหนด

 

ต่อมา กกตได้เผยแพร่ ระเบียบ กกตว่าด้วย วิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง .. (ฉบับที่ 2) ส่งผลให้ ระเบียบ กกตว่าด้วย วิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง .ที่ออกมาก่อนหน้านี้ในวันที่ 11 มกราคม 2562 มีผลบังคับใช้ จนทำให้นักการเมืองต่างพากันยุติการหาเสียงทางเฟซบุ๊กส่วนตัว ด้วยเกรงว่าจะผิดกฎหมาย มีเพียง จาตุรนต์ ฉายแสง จากพรรคไทยรักษาชาติ ที่ยืนยันว่าไม่ผิดกฎหมาย และ วัฒนา เมืองสุข จากพรรคเพื่อไทย ที่กล่าวว่า ระเบียบ กกตที่จำกัดการหาเสียงออนไลน์ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาดูกันว่า กกตออกระเบียบเพื่อจำกัดการหาเสียงออนไลน์ไว้อย่างไรบ้าง

 

 

หนึ่ง ต้องแจ้งการหาเสียงออนไลน์ ตามที่ กกต. กำหนด

 

ระเบียบ กกตว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง .ระบุความหมายของการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ เอาไว้ว่า หมายถึง การหาเสียงผ่านทางเว็บไซต์ โซเซียลมีเดีย ยูทูป แอปพลิเคชัน อีเมล์ เอสเอ็มเอส และ สื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นทุกประเภท ซึ่งก็คือ ‘การหาเสียงออนไลน์

 

โดยผู้สมัครจะต้องแจ้งวิธีการ รายละเอียด ช่องทาง ระยะเวลาในการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องตามแบบที่กำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงาน กกต. จังหวัดทราบตั้งแต่วันสมัคร รับเลือกตั้งเป็นต้นไปหรือก่อนดำเนินการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์

 

ในกรณีพรรคการเมืองจะดำเนินการการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้แจ้งวิธีการ รายละเอียด ช่องทาง ระยะเวลาในการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามแบบที่ กกตกำหนด ให้เลขาธิการ กกต. ทราบตั้งแต่วันสมัครรับเลือกตั้งเป็นต้นไปหรือก่อนดำเนินการ หาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์

 

ทั้งนี้ กกต. ก็ได้เปิดให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองแจ้งหาเสียงออนไลน์แล้วตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2562

 

 

 

แบบฟอร์มแสดงรายละเอียดการหาเสียงออนไลน์ที่ กกต. กำหนดให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองต้องแจ้งก่อนที่จะใช้ช่องทางหาเสียงออนไลน์

 

 

 

 

 

 แบบฟอร์มค่าใช้จ่ายที่ กกต. กำหนดให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองต้องแจ้งก่อนที่จะใช้ช่องทางหาเสียงออนไลน์

 

 

 

สอง ต้องทำตามระเบียบ กกตฝ่าฝืนมีโทษถึงจำคุก

 

หากผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใด ใช้ช่องทางออนไลน์หาเสียงในลักษณะขัดกับข้อห้ามของ กกตเช่น นำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ใช้ถ้อยคำรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย หรือปลุกระดม กกตสามารถสั่งให้แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลได้ และหากผู้สมัครไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลง กกตก็อาจแจ้งหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องแจ้งไปยังผู้ให้บริการ หากมีค่าใช้จ่าย ก็ให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองนั้นเป็นผู้รับผิดชอบ และสามารถนำมาเป็นเหตุให้ กกตดำเนินการสืบสวนหรือไต่สวนตามระเบียบ กกตว่าด้วยการสืบสวน การไต่สวนและการวินิจฉัยชี้ขาดได้ 

 

โดยโทษของการหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ ถูกระบุไว้ในกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 156 ว่า ผู้ใดฝ่าฝืนหรือหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไข ที่คณะกรรมการกําหนด มีโทษจําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ 

 

 

สาม การหาเสียงออนไลน์รวมอยู่ในงบประมาณตามที่ กกตกำหนดไว้

 

ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ผู้สมัครและพรรคการเมืองใช้ในการหาเสียงออนไลน์ ไม่ว่าจะผ่านทาง เฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ ยูทูป อินสตราแกรม กูเกิ้ล แอปพลิเคชัน จะถูกรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการหาเสียงตามที่ กกตกำหนดไว้ว่า ผู้สมัคร .. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งแต่ละคนต้องใช้จ่าย ในการเลือกต้ังไม่เกิน 1,500,000 บาท  ส่วนพรรคการเมืองต้องใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เกิน 35,000,000 บาท 

 

ด้าน สิริพรรณ นกสวน สวัสดี นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เคยกล่าวถึงการใช้เงินในการหาเสียงว่า หากลองไปพูดคุยกับผู้สมัครจริงๆ ค่าใช้จ่าย อย่างเช่น ค่าป้าย ค่ารถ ค่าน้ำมันรถ ผู้ร่วมขบวนการในการหาเสียง อาจใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท  แต่เนื่องจากว่าครั้งนี้ กกตบอกว่าจะจัดสรรเวลาหาเสียงให้ทางสื่อ คือห้ามซื้อสื่อก็จะลดเงินจำนวนนี้ลง แล้วก็บอกว่าขนาดของแผ่นป้ายจะลดลง และจะต้องติดในเขตที่ กกตจัดไว้ให้ ซึ่ง กกต. มองว่าเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายให้พรรคการเมืองแล้ว 

 

จะเห็นว่าเพดานค่าใช้จ่ายที่ กกต. กำหนดให้ถือเป็นจำนวนที่ไม่ได้มากนัก เนื่องจากต้องรวมค่าใช้การหาเสียงด้วยวิธีการอื่นๆด้วย และอาจทำให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองใช้ช่องทางในการสื่อสารได้น้อยลง สุดท้ายแล้วอาจทำให้ประชาชนไม่สามารถทำความรู้จักผู้สมัครและพรรคการเมืองได้อย่างเต็มที่  

 

 

สี่ แฟนคลับ .. และพรรคการเมือง ช่วยหาเสียงออนไลน์ เกิน 10,000 บาท ต้องแจ้ง กกต. ด้วย

 

สิ่งที่ประชาชนควรรู้อีกอย่างคือ หากเราชื่นชอบผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใดเป็นพิเศษ และต้องการช่วยหาเสียงผ่านทางออนไลน์ หากมีค่าใช้จ่ายเกินกว่าที่ กกต. กำหนด ผู้สมัคร และพรรคการเมืองจะต้องแจ้งรายละเอียดและค่าใช้จ่ายให้ กกต. ทราบด้วย

 

ตามที่ ระเบียบ กกต. วิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง .. ข้อ 11 ระบุว่า บุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้สมัคร หรือสมาชิกพรรคการเมือง หากต้องการช่วยผู้สมัครหรือพรรคการเมืองหาเสียงออนไลน์ หากมีค่าใช้จ่ายในหารจัดทำสื่อ หรือค่าตอบแทนต่างๆ ในการหาเสียงออนไลน์ รวมแล้วเกินกว่า 10,000 บาท ให้ผู้นั้นแจ้งค่าใช้จ่ายต่อผู้สมัครหรือพรรคการเมืองทราบ แล้วให้ผู้สมัครแจ้งให้ ผู้อำนวยการ กกต. จังหวัดทราบ ส่วนพรรคการเมืองให้แจ้งต่อเลขาธิการทราบ ซึ่งให้แจ้งรายละเอียดตามแบบฟอร์มของ กกต.