สนช. พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ ยืดเยื้อ – พร้อมเพิ่มมาตราใหม่ระบุชัด ห้ามเก็บเงิน

ทรัพยากร “น้ำ” เป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ประเทศไทยยังคงพบเจอในด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง มลพิษปนเปื้อนในน้ำ ความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำ และความขัดแย้งจากการแย่งชิงทรัพยากรน้ำ อย่างไรก็ตามในยุคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีความพยายามในการบริหารจัดการน้ำด้วยการใช้ .44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสชที่ 46/2560 ตั้งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริการจัดการน้ำ และมีอํานาจจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราว และขอเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ มาปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม รวมถึงการแก้ไขและพยายามผ่านร่างกฎหมายทรัพยากรน้ำ ทว่าเวลาผ่านมาเนิ่นนานนับปี ที่ประชุมก็ยังไม่มีมติผ่านร่างดังกล่าว เนื่องจากมีการถกเถียงและอภิปรายที่ยังไม่ลงตัว 

ล่าสุด (28 กันยายน 2561) ที่ประชุม สนชโดยมี สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 เป็นประธานการประชุมเพื่อพิจารณา ร่าง พระราชบัญญัติ (...) ทรัพยากรน้ำ .… ตามที่ กรรมาธิการวิสามัญ (กมธ.) ที่มีพลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ เป็นประธาน พิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งมีการแก้ไข 63 มาตรา จากทั้งหมด 102 มาตรา ใช้เวลาประชุมถึง 7 ชั่วโมงครึ่ง ยังไม่ลงตัว โดยที่ผ่านมา กมธได้ทำการศึกษาร่างดังกล่าวนานถึง 570 วัน รวมถึงการเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชน และมีการประชุมร่วมกันระหว่าง กมธและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องถึง 141 ครั้ง

ประเด็นสำคัญที่ กมธแก้ไขเพิ่มเติม ร่าง ...ทรัพยากรน้ำ มี 3 ประเด็นหลัก คือ (การประชุมวันที่ 28 กันยายน 2561)

หนึ่ง โครงสร้างองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ที่แก้ไขให้มีศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจในภาวะที่เกิดปัญหาวิกฤตน้ำ ซึ่งจะสอดคล้องกับคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 46/2560 เรื่องการจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ที่กำหนดให้มีสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริการจัดการน้ำ และมีอํานาจในการจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวได้

สอง กำหนดให้มีการจัดทำ “ผังน้ำ” เพื่อให้การใช้ประโยชน์ที่ดินที่อยู่ในระบบทางน้ำตามผังน้ำจะต้องไม่ต้องเกิดการเบี่ยงเบนทางน้ำหรือกีดขวางการไหล ช่วยป้องกันน้ำแล้งน้ำท่วม จะทำให้เห็นถึงเส้นทางการระบายน้ำ

สาม กำหนดค่าธรรมเนียม การขอใบอนุญาตใช้น้ำประเภทที่สอง 10,000 บาท สำหรับการอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การผลิตไฟฟ้าและประปา และน้ำประเภทที่สาม 50,000 บาท สำหรับกิจการขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำมาก หรือก่อให้เกิดผลกระทบข้ามลุ่มน้ำ
 

ร่าง ..ทรัพยากรน้ำ จัดสรรการใช้น้ำกี่ประเภทบ้าง?  

ในหมวด 4 เรื่องการจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ มาตรา 39 ระบุว่า การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

การใช้น้ำประเภทที่หนึ่ง ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการดำรงชีพ การอุปโภคในครัวเรือน การเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ การอุตสาหกรรมในครัวเรือน การรักษาระบบนิเวศ การบรรเทาสาธารณภัย การคมนาคม การใช้น้ำตามจารีตประเพณี และการใช้น้ำในปริมาณที่เล็กน้อย

การใช้น้ำประเภทที่สอง ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะ เพื่อการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การผลิตพลังงานไฟฟ้า การประปาและกิจการอื่น  (ซึ่งเดิมการใช้การใช้น้ำเพื่อการเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์อยู่ประเภทนี้ แต่ถูกตัดออก)  

การใช้น้ำประเภทที่สาม ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อกิจการขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำปริมาณมาก หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบข้ามลุ่มน้ำ หรือครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง

โดยลักษณะหรือรายละเอียดการใช้น้ำในแต่ละประเภทในแต่ละข้อให้เป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งจะต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อน

ซึ่งการใช้น้ำในประเภทที่สอง และสาม จะมีอัตราค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนด คือ ประเภทที่สอง ฉบับละไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนประเภทที่สาม ฉบับละไม่เกิน 50,000 บาท

 

กมธยืนยัน ไม่เก็บค่าน้ำประชาชนเกษตรกรที่ใช้น้ำสาธารณะ

มาตรา 39 เป็นเรื่องที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดสรรการใช้ทรัพยากรน้ำออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งในตอนแรกมีการถกเถียงว่าประชาชน และเกษตรกรที่ใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะจะต้องเสียค่าน้ำเนื่องจากถูกจัดประเภทอยู่ในกลุ่มที่สอง ซึ่ง พลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ ประธาน กมธได้แถลงต่อที่ประชุม (28 กันยายน 2561) ว่า “ประชาชนที่ใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค การเกษตร หรือการเลี้ยงสัตว์ จะไม่ได้รับผลกระทบ โดยไม่ต้องมีการขอใช้น้ำ หรือจ่ายค่าน้ำจากการใช้น้ำสาธารณะ” อีกทั้งยังมีการเพิ่มมาตรา 40/1 ที่ระบุชัดว่า “ห้ามเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวด้วย” สรุปคือประเด็นถกเถียงเรื่องจะเก็บค่าน้ำเกษตรกรจึงถูกตัดไปเรียบร้อย

สมาชิก สนชหวั่น มาตรา 6 เปิดทางให้รัฐมีอำนาจในการบริหารจัดการน้ำเกินขอบเขต 

ในการประชุมครั้งนี้ (28 กันยายน 2561) “เจน นำชัยศิริ” ประธานสภาอุสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) และสมาชิก สนชสายเศรษฐกิจ อภิปรายไม่เห็นด้วยในหลายประเด็น โดยเฉพาะประเด็นที่มีการอภิปรายอย่างมาก คือ บททั่วไปว่าด้วยการใช้ทรัพยากรน้ำ จากเดิมมาตรา  6 ระบุว่า 

 

     “รัฐมีอำนาจ พัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะ โดยเปลี่ยนแปลงรูปร่างของแหล่งน้ำหรือขยายพื้นที่ของแหล่งน้ำได้ แต่ถ้าเป็นการลดพื้นที่หรือให้เลิกใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะต้องดำเนินการถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดิน” 

 

ซึ่งทำให้รัฐมีอำนาจในการบริหารจัดการน้ำ โดยในวรรคสามซึ่งกำหนดให้องค์กรของรัฐหรือการปกครองส่วนท้องถิ่น รับผิดชอบควบคุมดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรน้ำ โดย เจน เห็นว่ามาตรานี้จะเปิดทางให้รัฐใช้อำนาจมากเกินไป หรือควบคุมการจัดการน้ำทั้งหมด โดยไม่มีหลักเกณฑ์

รอยล จิตรดอน” หนึ่งในคณะ กมธจึงชี้แจงว่า มาตรา 6 มีขึ้นเพื่อให้รัฐมีอำนาจจัดสรรตามหลักการ “Water Budget” หรืองบประมาณน้ำ ทำให้สามารถจัดสรรต้นทุนน้ำในแต่ละปีได้

ดังนั้นในประเด็นเรื่องมาตรา 6 ที่ประชุมจึงมีข้อสรุปให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในมาตรานี้เป็น 

 

       “รัฐมีอำนาจใช้ พัฒนา บริหารจัดการ บำรุงรักษา ฟื้นฟู และอนุรักษ์ ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน โดยอาจเปลี่ยนแปลงรูปร่างของแหล่งน้ำหรือขยายพื้นที่ของแหล่งน้ำก็ได้ แต่ถ้าเป็นการลดพื้นที่หรือให้เลิกใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องดำเนินการถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 9 เอกชนนั่งเก้าอี้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้ 

นอกจากนี้ มาตรา 9 ที่กำหนดโครงสร้างของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และกรรมการผู้แทนคณะกรรมการลุ่มน้ำจำนวน 6 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน จากเดิมมี 3 คน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง และเพิ่มคุณสมบัติจากเดิมที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำอย่างเดียว เพิ่มเป็น “ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านผังเมือง และด้านเศรษฐศาสตร์” ด้านละหนึ่งคน 

 

ซึ่งภาคเอกชนต้องการให้มีตัวแทนเข้าไปนั่งเป็นกรรมการด้วย ในฐานะผู้ได้รับผลกระทบส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการน้ำ โดยอ้างถึงกรณีน้ำท่วมปี 2554 ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วย และให้นั่งในสัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ โดยปรับคุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิในสอดรับกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยปรากฏว่ามีผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นตัวแทนภาคเอกชน เข้าไปเป็น กนชการแก้ครั้งนี้ทำให้มีตัวแทนภาคเอกชน 

 

สนชหวั่น กำหนดโทษ ขัดรัฐธรรมนูญ กมธบอกต้องมี ยันไม่ปรับแก้ไข  

เจน นำชัยศิริ” ยังมีการอภิปรายถึงเรื่องการกำหนดโทษ หมวด 9 มาตรา 82 ระบุว่า “ผู้ใดฝ่าฝืนหลักเกณฑ์การเข้าใช้สอยแหล่งน้ำตามมาตรา 6 วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ต่อมาแก้เป็น “ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบัญญัติท้องถื่นที่ออกตามมาตรา 6 วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

เจนอภิปรายว่าโทษปรับ 60,000 บาท  จะลงโทษประชาชนที่ใช้ชีวิตกับน้ำได้อย่างไร อีกทั้งจะเกี่ยวข้องกับ มาตรา 39 ที่แบ่งการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะ 3 ประเภท และ มาตรา 57 กรณีเกิดภาวะน้ำแล้งอย่างรุนแรงหรือไม่ จะก้าวล่วงไปถึงน้ำของเอกชนด้วยหรือไม่ ถ้าแบบนี้ถือเป็นการให้อำนาจครอบคลุมไปหมด ซึ่งเกรงว่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ 

ด้าน กมธ.ยืนยันว่าจะไม่ปรับแก้ในเรื่องบทลงโทษ โดยชี้แจงว่า จำเป็นต้องมีเพื่อใช้เป็นมาตรการปราบปรามผู้ที่กระทำผิด ซึ่งท้องถิ่นก็มีส่วนยึดโยงกับประชาชน กฎหมายนี้จะเป็นหลักประกันให้ใช้น้ำกันอย่างเท่าเทียม ขั้นตอนก่อนออกกฎเทศบัญญัติก็ต้องรับฟังความคิดเห็นประชาชน

ข้อสรุปยังไม่ลงตัว ประชุมอีกครั้ง 4 ตุลาคม 2561

แต่เมื่อยังมีหลายประเด็นที่ยังพิจารณาไม่จบ “พรเพชร วิชิตชลชัย” ประธาน สนชจึงแจ้งให้ กมธ.วิสามัญ ไปพิจารณาทบทวนในมาตราที่ยังมีสมาชิก สนช.ติดใจ โดยเฉพาะมาตรา 4 เกี่ยวกับการนิยามความหมายของน้ำประเภทต่างๆ

มาตรา 6 เรื่องอำนาจในการบริหารจัดการน้ำ

มาตรา 9(6) คุณสมบัติกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับน้ำ

มาตรา 23/1 ถึงเป็นการถกเถียงถึงเรื่องนิยาม “วิกฤติน้ำ” ซึ่งที่ประชุมใช้เวลาถกเถียงอยู่นาน

มาตรา 39 การแบ่งประเภทการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะ ที่ยังคงถกเถียงในเรื่องการใช้น้ำเพื่อ “พาณิชยกรรม

มาตรา45 ที่เกี่ยวกับเงื่อนไขการใช้แหล่งน้ำที่เปลี่ยนมาเป็นทรัพยากรน้ำสาธารณะ

มาตรา 80(1) เกี่ยวกับค่าปรับที่ทำให้เกิดความเสียหาย

มาตรา 95(4) การดำเนินคดีกรณีไม่ชำระค่าปรับตามกำหนด

และมาตรา 97(4) ให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สามารถมอบหมายให้คณะกรรมการลุ่มน้ำปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าจะมีคณะกรรมการลุ่มน้ำ ไม่เกิน 2 ปี 

ทั้งนี้จะมีการนัดประชุม ร่าง ...ฉบับนี้ ในวาระ 2 อีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม 2561 ผลจะออกมาเป็นอย่างไรต้องรอติดตามต่อไป

 

4 ต.ค. 61 สนชผ่านร่าง ...ทรัพยากรน้ำ แล้ว ด้วยมติ 191 เสียง หลังพิจารณามาแล้ว 142 ครั้ง

 

ตุลาคม 2561 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติผ่านร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ ..… ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ด้วยคะแนนเสียง 191 เสียง ไม่เห็นด้วย 2 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง จากจำนวนผู้เข้าประชุม 199 คน การประชุมครั้งนี้ต่อเนื่องมาจากการประชุมในวันที่ 28 กันยายน 2561 ในวาระที่ 2 และ 3 พิจารณาค้างอยู่ โดย พรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนชให้คณะกรรมาธิการวิสามัญ (กมธ.) รับไปปรับแก้ ก่อนมีการลงมติในวาระที่ 3 ในวันที่ 4 ตุลาคม 2561

 

ภายหลังลงมติร่าง ...ทรัพยากรน้ำ เรียบร้อยแล้ว มติชนออนไลน์รายงานว่า สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้นำดอกไม้มามอบแก่ พลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ ในฐานะประธานกรรมาธิการพิจารณาร่าง ...ทรัพยากรน้ำ เพื่อขอบคุณที่ช่วยผลักดันร่างดังกล่าวจนสำเร็จ โดย พลเอก อกนิษฐ์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายฉบับแรกของการปฏิรูปประเทศที่กำหนดให้มีการบริหารจัดการน้ำ พร้อมทั้งยืนยันว่า กมธได้พิจารณาอย่างรอบคอบ และได้รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน การที่ เจน นำชัยศิริ กล่าวว่าจะไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เป็นสิทธิที่ทำได้ แต่ขอให้ไปดูในคำปรารภที่ระบุชัดถึงเหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลบางประการ เพื่อให้การบริหารน้ำมีประสิทธิภาพ มั่นใจว่าไม่มีเนื้อหาส่วนไหนขัดต่อรัฐธรรมนูญ

 

ด้านสมาชิก สนช.  และ ประธานสภาอุสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) “เจน นำชัยศิริผู้เคยอภิปรายว่าบทบัญญัติบางประการของร่าง ...ทรัพยากรน้ำ อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ เช่น การให้อำนาจแก่รัฐในการบริหารจัดการน้ำมากจนเกินไป และการให้มีบทลงโทษในการใช้ทรัพยากรน้ำ เจนให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวมติชนว่า ขอหารือกันก่อน จะไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความร่าง ...ทรัพยากรน้ำ ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ยังบอกไม่ได้ว่าจะยื่นเมื่อใด ขอเวลาพิจารณาก่อน

 

อ่านการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ (ประชุมวันที่ 28 กันยายน 2561) ได้ที่ : http://library.senate.go.th/document/mSubject/Ext83/83706_0001.PDF)