ปัญหาการกีดกันกลุ่ม LGBT ทั่วโลกยังหนัก

นักกิจกรรม ชี้ ผู้ลี้ภัย LGBT จากซีเรียถูกกระทำหนัก LGBT  ที่อินเดีย ประสบปัญหาได้รับค่าจ้างน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ต้องจ่ายค่าส่วยให้ผู้มีอิทธิพล มีความเสี่ยงต่อหลักประกันชีวิตที่ไม่แน่นอน  ข้อมูลสำรวจ จาก UN พบมีแค่ 20 ประเทศที่มีกฎหมายห้ามเลือกปฏิบัติต่อ LGBT
30 พฤศจิกายน 2559 องค์กรนักกิจกรรมที่ทำงานในประเด็นความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย ร่วมกับเครือข่าย เป็นเจ้าภาพการประชุมสามัญ สมาคมอิลก้า (ILGA) ระดับโลกครั้งที่ 28 ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2559 ที่ โรงแรมสุโกศล กรุงเทพมหานคร ในการประชุมดังกล่าว วิทยากรหลายคน ต่างกล่าวถึงหัวใจสำคัญของการประชุมครั้งนี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ ควรได้รับสิทธิพื้นฐานสำหรับคนทุกคน ตามปฎิญญาณสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 7 คือ  "กฎหมายไม่มีการแบ่งแยก หรือเลือกปฎิบัติ"
งานนี้มีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 700 คน จากทั่วโลก และมีการคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้เข้าร่วมงาน  โดยทางผู้จัดย้ำเตือนสื่อว่า หากจะถ่ายรูปผู้เข้าร่วมงาน ต้องขออนุญาตบุคคลที่จะปรากฏบนภาพก่อน อีกทั้ง หากมีสติ๊กเกอร์สีแดงติดที่หน้าอก แปลว่า ห้ามถ่ายรูป ตลอดจน งานประชุมครั้งนี้ ทุกคนสามารถร่วมติดแฮชแท็กสื่อสารเรื่องราวเกี่ยวกับ ความหลากหลายทางเพศได้ที่ #ILGA2016BKK
ค่าจ้างแรงงานต่ำ ค่าส่วยที่ต้องจ่าย ค่าหลักประกันชีวิต ที่สังคมกีดกันในกลุ่ม LGBT
ชูบ้า ช้ากโก้ (Shubha Chacko) ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิน้ำหนึ่งใจเดียว จากอินเดีย กล่าวถึง การกีดกันทางสังคมที่มีต่อ กลุ่ม LGBT ในอินเดียว่า ไม่มีสวัสดิการในชุมชนให้คนกลุ่มน้อยทางเพศสภาพ (gender minority) บางคนถ้าไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน ก็ต้องแลกเปลี่ยนค่าเช่าบ้าน เป็นการบริการทางเพศที่ยินยอมบ้าง ไม่ยินยอมบ้าง นอกจากนี้ ชาว LGBT ในสังคมอินเดียได้รับค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่ากฎหมายกำหนด ทั้งต้องจ่ายค่าส่วยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือกลุ่มผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ไม่มีค่าหลักประกันทางสังคมหรือสุขภาพให้เข้าถึง
ฟาดิ ซาเล (Fadi Saleh) นักวิชาการ-นักกิจกรรม ด้านสิทธิของ LGBT จากซีเรีย กล่าวถึง ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่เป็น LGBT ว่า คนซีเรียบางกลุ่มมองคนกลุ่มนี้ไม่มีคุณค่าความเป็นมนุษย์ อย่างเช่น เมื่อเกิดการต่อสู้ทางการเมือง แล้วมี LGBT ตายหรือใกล้ตาย ก็จะถูกกระทำซ้ำอีก เมื่อมีสื่อมวลชนต่างประเทศมาทำข่าวเรื่องผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย สถาบันหรือนักวิจัย ที่ทำงานร่วมกับ LGBT ก็มักถูกวิพากษ์จากสื่อในด้านลบ
ข้อมูลสำรวจ ชี้เพียง 20 ประเทศ มีกฎหมายห้ามเลือกปฏิบัติ
นอกจากนี้ ที่เวทีประชุม มีการเปิดเผยงานสำรวจ ประเด็นความก้าวหน้า ด้านสิทธิ LGBT ในหนังสือ Living Free & Equal จัดทำโดย องค์การสหประชาชาติ พบว่า จากการสำรวจกฎหมายของ 193 ประเทศ มีประเทศเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่คุ้มครองห้ามจ้างงานโดยเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของรสนิยมทางเพศ และมี 20 ประเทศที่มีกฎหมายห้ามเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของอัตลักษณ์ทางเพศ และมีเพียงสามประเทศเท่านั้นที่มีกฎหมายคุ้มครองคนที่มีเพศกำกวม หรือมีสองเพศ ไม่ให้ถูกเลือกปฏิบัติ
ILGA World Conference: 5 aims of LGBT rights by Vitit Muntarbhorn 
From the 28th November to the 2nd December 2016, the International Lesbian, Gay, Bisexual, Trans and Intersex Association (ILGA) held its 28th World Conference in Sukhosol Hotel, Bangkok. Past ILGA conferences have been known to be one of the (if not the) main reference point for LGBTI-specific stakeholder groups, and 28th World Conference has maintained that tradition. The event was attended by a rich plethora of key stakeholders in LGBTI advocacy and policy as about 500 representatives of civil society groups, non-government organizations, parliamentarians, and working groups of international organization. 
That the ILGA has grown to become a widely-accepted reference point among stakeholder groups is attributed to its far-reaching agenda. This is observed by Chulalongkorn University law professor and SOGI Independent Expert Professor Vitit Muntarbhorn’s keynote speech in the conference.
Listing five aims in his speech, Professor Vitit has, first, called for the decriminalization of same-sex conduct and marriage through the adoption of a moratorium on laws that persecute and marginalize the LGBTI community. Second, he called for a depatholigization of the LGBTI community by moving away from their anachronistic classification by the medical community as suffering from mental illness. In this breadth, he advocated the banning of aversion and conversion therapy that is often performed on gays, lesbians and bisexuals.
The third aim was the granting of identity recognition, such as through allowing individuals to change their identity in official documentation. The fourth and fifth aim respectively is to create spaces for LGBTI inclusion within religious and communal practices and to promote a more empathetic, LGBTI-sensitive and non-binary education model.
These far-reaching proposals by Professor Vitit at the World Conference have not only cemented the IGLA’s place as a prime discussion fora for LGBTI advocacy, but also enable it to lead the way for generating the political will for policy reform at the national and international levels.
Professor Vitit also discussed the progressive strengthening of international human rights legal instruments and practice such as through the UN Periodic Review and coverage by the UN Special Procedures. 
Luc Stevens , the UN Resident Coordinator for Thailand, expounded on the recent improvements in national legislation in countries as diverse as Malta passed a bill outlawing surgical intervention on intersex infants, Vietnam  legalized same-sex marriage, and allowed individuals who have undergone sexual reassignment surgery to register under a new gender and Nepal ratified a new constitution that enshrines LGBT protections.
These speakers welcomed the increasing number of court cases and the proliferation of new legislation and constitutions that have enshrined the protection of LGBTI rights and SOGI principles while at the same time, reforming antiquated laws.
Michael van Gelderen from the UN Human Rights Offices presented the publication “Living Free and Equal” which surveyed the extent to which progress on LGBTI protections is uneven. The report states that out of 193 countries surveyed, only one-third of countries prohibit discrimination based on sexual orientation in employment practices, only 20 states prohibit discrimination based on gender identity, and only three states provide legal protections for intersex individuals from discrimination.
In addition, the report highlights the multitude of gaps that exist between international human rights law and recommendations by the UN, and national government policy.