ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (ฉบับสถาบันพระปกเกล้า)

เนื่องจากเวลานี้ ต้องมีกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายฉบับใหม่ มาใช้แทน พ...ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.. 2542 ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 นั้น

นอกจากสาระสำคัญ หลักที่ต้องแก้ไขเรื่องลดจำนวนรายชื่อของประชาชนในการเสนอกฎหมายจากห้าหมื่น ชื่อ ลงมาเหลือหนึ่งหมื่นชื่อ ตามที่รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 กำหนดไว้แล้ว ยังมีรายละเอียดสำคัญอื่นๆ ที่ต้องระบุเอาไว้ในร่างกฎหมายนี้ด้วย
 
สถาบันพระปกเกล้า อาศัยโอกาสที่จะต้องแก้ไข ทำการปรับปรุงกฎหมายเรื่องการเข้าชื่อเสียใหม่ เสนอออกมาเป็น ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ฉบับของสถาบันพระปกเกล้า โดยมีสาระสำคัญที่น่าสนใจดังนี้
 
  1. เอกสารที่ใช้ในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย คือ สำเนาบัตรประชาชน
  2. กำหนด ให้ประชาชนสามารถขอความช่วยเหลือในการจัดทำร่างกฎหมายจากคณะกรรมการปฏิรูป กฎหมายได้ และยังสามารถขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ได้
  3. ห้ามผู้อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
  4. ไม่ได้ระบุถึงการเข้าชื่อของประชาชนเพื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังที่กำหนดไว้ในมาตรา 291ของรัฐธรรมนูญ
 
ขณะนี้ สถาบันพระปกเกล้า กำลังเปิดให้ประชาชนมาร่วมกันลงชื่อให้ครบหนึ่งหมื่นชื่อเพื่อเดินหน้าเสนอ กฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภา
 
อย่างไรก็ดี นอกจากสถาบันพระปกเกล้าแล้ว ยังมีมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติอีกองค์กรหนึ่งที่กำลังขับเคลื่อนร่างพ...ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกันอยู่เล็กน้อย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
 
 
 
คุณสามารถมีส่วนร่วมได้ โดยร่วมเป็นหนึ่งในหมื่นชื่อที่เสนอกฎหมาย
 
ขั้นตอนและวิธี
1. กรอกข้อมูลในแบบ ข..๑ ให้ครบถ้วน
2. แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง และขีดคร่อมว่า
เพื่อเสนอร่างพ...ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.….
3. แนบสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องและขีดคร่อมว่า
เพื่อเสนอร่างพ...ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.….
 
ส่งเอกสารทั้งหมดไปยัง
สำนักอำนวยการ สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง
เลขที่ 2 อาคารรำไพพรรณี พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ถนนหลานหลวง แขวงโสมนัส เขตป้อมปราบ กรุงเทพฯ10100
โทร. 02-280-6371-5 โทรสาร 02-280-6378-80
 
 

ร่วมโหวตว่า "ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อกฎหมายฉบับไหน ที่ชนะใจคุณ?" ที่นี่

ไฟล์แนบ

Amnestypeople.com
Join iLaw club
Facebook Fanpage