เชคสเปียร์ต้อง(ไม่)ตาย ไปจากสังคมไทย

กุลชาดา ชัยพิพัฒน์

เจ้าหน้าที่ฝ่ายสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน
สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Press Alliance)
จากสถิติหนังไทยที่ถูกห้ามฉายในอดีต คณะกรรมการเซ็นเซอร์ทุกยุคทุกสมัยมักอ้างเหตุที่กินความกว้าง เกินความเป็นจริง แต่ไม่สามารถอธิบายได้ว่าภาพยนตร์ที่ถูกห้ามฉายเหล่านั้นมีเนื้อหาหรือภาพที่อาจส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงามของประชาชนได้อย่างไร
เพราะในความเป็นจริงแล้ว ภาพหรือเสียงที่โลดแล่นอยู่ในสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ละครโทรทัศน์ สื่อโฆษณา หรือสื่อสิ่งพิมพ์ ล้วนเต็มไปด้วยภาพและเนื้อหาที่หมิ่นเหม่ต่อศีลธรรมอันดีงามของประชาชนมากมาย ยิ่งไปกว่านั้น หลายสื่อในปัจจุบันยังจงใจยั่วยุปลุกปั่นให้เกิดความแตกแยก ความเกลียดชังในสังคม ซึ่งก็ไม่เห็นมีการห้ามกัน
กรณีที่คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ คณะที่ 3 ที่มี พล.ต.ต.เอนก สัมพลัง เป็นประธาน มีมติห้ามฉายภาพยนตร์ เรื่อง “เชคสเปียร์ต้องตาย” ของนายมานิต ศรีวานิชภูมิ และ นางสาวสมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ ผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ เมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา ก็เช่นกัน โดยอ้างว่า มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ ตามกฎกระทรวง กำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ พ.ศ. 2552 ข้อ 7 (3) และตามพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ตามมาตรา 26(7)
ในการพิจารณาของคณะกรรมการฯไม่ได้คำนึงถึงเจตนารมย์และเป้าหมายของภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นสำคัญ 
สังคมไทยควรตั้งคำถามกลับว่า นี่คือการคุกคามสิทธิเเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนและเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารอย่างร้ายแรงหรือไม่ เป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือไม่ 
ถึงแม้ว่าสื่อภาพยนตร์จะมีกฏหมายเฉพาะในการกำกับดูแลแต่กฏหมายดังกล่าวก็ไม่ควรศักดิ์สิทธิเหนือกว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุปัน (พ.ศ. 2550) ที่ให้การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพของสื่อมวลชนอย่างเต็มที่ (มาตรา 45) และยังจำกัดอำนาจรัฐในการเซนเซอร์สื่อฯ โดยกำหนดห้ามสั่งปิดหรือเซนเซอร์ทั้งหมด โดยให้ทำได้เท่าที่จำเป็น ตีความเหตุแห่งการห้ามให้แคบที่สุดและสมเหตุสมผลกับสถาณการณ์ในขณะนั้น
ที่ให้เหตุผลข้างตนนี้ไม่ได้หมายความว่าให้เซ็นเซอร์ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้บางส่วน แต่ต้องการให้คณะกรรมการฯย้อนคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ปราศจากอคติทางการเมื่องว่า สมควรหรือที่ภาพยนตร์เรื่องนีจะถูกห้ามฉายโดยสิ้นเชิงเพียงเพราะมีฉากบางฉากที่อาจ สร้างความแตกแยกให้กับสังคมไทย (ที่ในความเป็นจริงก็แตกแยกจนกู่ไม่กลับอยู่แล้ว ผู้คนก็หลงเสพย์แต่สื่อฯที่เข้าข้างความคิดของตัวเองอย่างงมงาย)
ฉากการชุมนุมทางการเมือง การสู้รบนองเลือด หรือการใช้ความรุนแรงในรูปแบบอื่นๆ เช่น การลอบปลงพระชนม์ ไม่ว่าในอดีตหรือปัจจุบัน (ในเรื่อง “เชคสเปียร์ต้องตาย”มีการนำภาพข่าวเหตูการณ์เผาตึกเวิร์ลเทรดที่แยกราชประสงคในช่วงเหตการณ์รุนแรงทางการเมือง เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2553 ฉากฝูงชนบ้าคลั่งที่คาดผมด้วยผ้าสีแดงกำลังรุมทำร้ายชายในเรื่อง สลับกับภาพข่าวที่บันทึกเหตูการณ์จริงที่ชายคนหนึ่งถูกแขวนคอประจานและทุบทำร้าย โดยฝูงชนบ้าคลั่งในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519)
ล้วนเป็นฉากที่สะท้อนให้เห็นถึงการแตกแยกทางความคิดการแตกความสามัคคีของคนในชาติ และการช่วงชิงอำนาจของผู้นำโดยปราศจากความยั้งคิดและศีลธรรมอันดีงามจนนำไปสู่การล่มสลายของบ้านเมืองในที่สุด
ถ้ามองกันอย่างมีสติ ฉากเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องประวัติศาสตร์เปื้อนเลือดที่ปรากฎอยู่ในหนังไทยมาไม่รู้กี่เรื่อง ไม่ว่าจะเป็้นเรื่อง บางระจัน ศรีสุริโยทัย ตำนานนเรศวรมหาราช หรือ หนังรัก เบาๆ อย่าง ฟ้าใส ใจชื่นบาน แต่นำฉากเหตุการณ์ “6 ตุลา” มาเดินเรื่อง ก็ยังเห็นฉายกันไปได้ ทำรายได้เป็นร้อยเป็นพันล้านบาทบ้างก็มี ไม่เห็นถูกห้ามฉาย
กลับมาดูที่ “เชคสเปียร์ต้องตาย” ไม่ว่าผู้สร้างจะมีทัศนะทางการเมืองอย่างไร ภาพยนตร์เรื่องนี้ระบุชัดว่าเป็นหนังส่งเสริมศีลธรรม ผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้เลือกที่จะสะท้อนปัญหาสังคมไทยในปัจจุบันผ่านงานวรรณกรรมที่ผู้คนทั่วโลกยกย่องและยอมรับ และถูกนำไปผลิตซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทั้งเพื่อเป็นการจรรโลงงานศิลปะที่งดงามและโดดเด่น และเพื่อเป็นคติสอนใจให้คนเกิดความละอายและเกรงกลัวต่อบาป
ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเจตนาที่ต้องการจะปลดปล่อยจิตใจของคนไทยจากการครอบงำด้วยความกลัวและให้คิดแบบมีสติและปัญญาว่าการที่เราเพิกเฉยต่อความชั่วร้าย การชื่นชมการใช้ความรุนแรงและเห็นว่า คนดีๆ ที่ล้มตายลงไปอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าดอกไม้ที่ประดับบนผมของเขาจะโรยราเป็นเรื่องธรรมดานั้น เป็นสิ่งบอกเหตุของสังคมที่วิปริต
ผู้สร้างและผู้กำกับฯ เลือกบทละครเรื่อง “โศกนาฎกรรมของแม็คเบ็ธ” ของวิลเลี่ยม เชคสเปียร์ กวีเอกของโลกมาดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์ภาษาไทยที่ซื่อสัตย์กับบทละครเดิมแทบทุกตัวอักษรและคงท่วงทีลีลาของภาษาตามแบบฉบับบทละครของเชคสเปียร์ที่ช่างเย้ยหยันเสียดแทงชะตากรรมของมนุษย์ที่ตกอยูในความโลภโกรธหลง และต้องต่อสู้กับจิตใต้สำนึกส่วนที่ดีของตัวเองตลอดเวลา
การเดินเรื่องเป็นไปอย่างรวดเร็ว กระชับ ชวนติดตามทุกถ้อยอักษร จนคิดไม่ได้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะสร้างความแตกแยกในสังคมได้อย่างไร 
ยิ่งไปกว่านั้น การร้อยภาษาทีลื่นไหลและลุ่มลึกกลับสะกดคนผู้ให้ขุดค้น และใคร่ครวญความผิดชอบชั่วดีไปพร้อมๆกับตัวละครเสียมากกว่า 
ที่สำคัญภาพยนตร์เรื่องนี้ตั้งใจทำให้คนไทยดูจริงๆ
หากภาพยนตร์ที่เรื่องนี้ยังถูกห้ามฉายต่อไปหลังจากที่ผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับฯ ได้ยื่นอุธรณ์ไปที่รัฐบาลเมื่อวันที่ 17 เมษายน ศกนี่ (ดูรายละเอียดคลิกที่นี่)
เราคนไทย จะไปหวังอะไรกับบรรดาท่านผู้นำที่เคยคุยฟุ้งเรื่อง Creative Economy แต่ภาพยนตร์ดีๆ ที่สร้างสรรค์และประเทืองปัญญา กลับถูกแบนแสียหมด
และนับประสาอะไรกับการวิพากวิจารณ์การเมืองและสังคมไทยอย่างโต้งๆในยุคปัจจุบัน จะไม่ถูกเซ็นเซอร์
หรือเราคนไทยต้องรอให้รัฐบาลชุดปัจจุบันพ้นจากตำแหน่งไปก่อนถึงจะได้ดูภาพยนตร์เรื่องนี้
แล้วมันจะต่างอะไรกับการแบนภาพยนตร์โฆษณา “ขอโทษประเทศไทย” ของกลุ่มพลังบวก เมื่อเดิอนกรกฏาคม ปี 2553 ในยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ (ที่อนุมัติให้สร้าง “เชคสเปียร์ต้องตาย” และสนับสนุนทุนสร้าง 3 ล้านบาท ภายใต้โครงการ ไทยเข้มแข็ง เมื่อปี 2553)
ภาพยนตร์เรื่องนี้เอาภาพข่าวในเหตุการณ์การชุมนุมเดือนพฤษภาคมปี 2553มาต่อๆกันเป็นการเรีบงลำดับเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็นภาพเผาตึก ภาพทหารเล็งปืนใส่ประชาชน ภาพพระถูกจับ ภาพชายที่ใส่กางเกงในตัวเดียว ภาพการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อเหลือง และการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ภาพสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 
ส่วนเนื้อหา มีคำพูดแทรก เช่น “เรา ทำอะไรผิดไปหรือเปล่า … รุนแรงไปหรือเปล่า … ฟังความข้างเดียวหรือเปล่า …. ให้ปัญญาประชาชนหรือเปล่า …. ถ้าจะต้องมีคนผิด … ก็คงเป็นเราทั้งหมดที่ผิด … ขอโทษประเทศไทย … แล้วถ้าจะต้องแก้ไข ก็คงต้องเป็นเราคนไทยที่ลุกขึ้นมาแก้ … จดจำความสูญเสียไว้ในใจ … แล้วเปลี่ยนให้เป็นพลังบวก”
แต่คณะกรรมการเซ็นเซอร์ของฟรีทีวีในขณะนั้นมีมติห้ามเผยแพร่ เนื่องจากเห็นว่าในโฆษณาชุดนี้ มีการใช้ภาพธงชาติไทยที่ฉีกขาด ซึ่งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 22 วงเล็บ 4 ห้ามไม่ให้แพร่ภาพสิ่งที่ทำให้เกิดความแตกแยก เสื่อมเสีย หรือความสามัคคีในหมู่ประชาชน
คนทำหนัง ภาณุ อิงควัต (ผู้ก่อตั้งกลุ่มพลังบวก) ต้องการให้คนไทยสำนึกว่าเราทำร้ายกันเองและขอโทษประเทศไทย ไม่ได้ต้องการให้เกิดควาวมแตกแยก พอข่าวออกไปว่าถูกแบน คนก็แห่กันเข้าไปดูใน Youtube พอคณะกรรมการฯ ให้ตัดฉากที่อ้างว่าไม่เหมาะสมออกไป หนังหมดพลังแรงลงไปทันทีและไม่มีใครสนใจดูอีกเลย
ก็อีกนั่นแหละ เราไม่คำนึงเถึงเจตนารมย์และเป้าหมายเป็นสำคัญ มัวแต่ไปหลงอยู่ที่ภาพลักษณ์ สัญลักษณ์และมายาคติ 
และครั้งนี้ ถ้าเราปล่อยให้ “เชคสเปียร์ต้องตาย”ไปจากสังคมไทย ใครเล่าจะกล้าพูดความจริง
You May Also Like
อ่าน

กสม.ชี้หน่วยงานรัฐไทยเอี่ยวใช้สปายแวร์เพกาซัส ชงครม.สั่งสอบ-เรียกเอกสารลับ

กสม. เชื่อว่า มีการใช้สปายแวร์ เพกาซัสละเมิดสิทธิจริง โดยพิจารณาจากความน่าเชื่อถือของการตรวจสอบทางเทคนิคคอมพิวเตอร์ และบริบทแวดล้อมในต่างประเทศ นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่า หน่วยงานรัฐไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้สปายแวร์
อ่าน

ขนุน สิรภพ “คงแค่ยิ้มสู้” ระหว่างศาลอุทธรณ์ไม่ให้ประกันตัวในคดีมาตรา 112

ขนุน สิรภพ “คงแค่ยิ้มสู้” ระหว่างศาลอุทธรณ์ไม่ให้ประกันตัวในคดีมาตรา 112 . สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ หรือขนุน นิสิตรัฐศาสตร์จากมศว จำเลยในคดีมาตรา 112 จากการกล่าวปราศรัยระหว่างการชุมนุม #ม็อบ18พฤศจิกา . 25 มีนาคม ที่ผ่านมาศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษา จำคุก 3 ปี แต่เนื่องจากการนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาอยู่บ้าง ศาลจึงลดโทษหนึ่งในสามคงจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา . จนถึงวันนี้(4 เมษายน 2567) เป็นเวลา 10 วันแล้วที่ศาลอุทธรณ์ไม่ให้ประกันตัว