ร่วมลงชื่อจดหมายเปิดผนึก หยุดแบนภาพยนตร์ไทย

Shakespeare Must Die เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องล่าสุดที่ถูกสั่งห้ามฉาย ผู้คนในวงการภายนตร์ร่วมกันออกจดหมายเปิดผนึกไม่เห็นด้วยกับคำสั่ง และเรียกร้องนายกรัฐมนตรีอย่าแบนภาพยนตร์ไทยอีก โดยให้เหตุผลว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ 

โดยสั่งใ้ห้เป็นภาพยนตร์ประเภทห้ามฉายในราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 26(7)  และกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ พ.ศ.2552 ข้อ 7(3)
ภาพยนตร์เรื่อง ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องที่สองที่ถูกสั่งห้ามฉายภายใต้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ต่อจากภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard ที่กำกับโดยธัญญ์วารินทร์ สุขะพิสิษฐ์ ซึ่งได้ัรับคำสั่งห้ามฉายไปเมื่อปลายปี 2553
ภาพยนตร์เรื่อง ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ เป็นภาพยนตร์ไทยที่สร้างขึ้นจากบทละคร ‘โศกนาฏกรรมแม็คเบ็ธ’ (The Tragedy of Macbeth) ของ วิลเลียม เชคสเปียร์ (William Shakespeare) กวีเอกของโลก เป็นเรื่องราวของขุนพลที่มักใหญ่ใฝ่สูงอย่างไร้ขอบเขต และคลั่งไคล้ในไสยศาสตร์ เมื่อมีแม่มดมาทักว่าจะได้เป็นกษัตริย์ในภายหน้า และโดยการยุยงของภรรยา เขาสังหารพระราชาเพื่อสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ แม็คเบ็ธปกครองแผ่นดินด้วยความบ้าอำนาจ พาให้บ้านเมืองตกอยู่ในยุคมืดมนแห่งความหวาดกลัว โดยที่ตัวเขาเองก็ปราศจากความสุข ต้องใช้ความรุนแรงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อรักษาอำนาจของตน
มานิต ศรีวานิชภูมิ ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ ออกแถลงการณ์ฉบับหนึ่งก่อนหน้านี้ กล่าวว่า "เหตุการณ์นี้ทำให้ผมเห็นว่า เราไม่สามารถพูดถึงเรื่องศีลธรรม ความโลภ ความบ้าอำนาจ ความมักใหญ่ใฝ่สูงอันไร้ขอบเขตกันได้อีกแล้วในประเทศไทย ผู้คนอยู่กันด้วยความกลัว ราวกับว่าอยู่ใต้แม็คเบ็ธในบทละครของเชคสเปียร์จริงๆ มันแปลกประหลาดมากที่องค์กรของกระทรวงวัฒนธรรมลุกขึ้นแบนหนังที่กระทรวงวัฒนธรรมเองเป็นผู้สนับสนุน และกองเซ็นเซอร์ ภายใต้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม เห็นควรแบนเชคสเปียร์"
ล่าสุด ทีมงานผู้สร้างภาพยนตร์ออกจดหมายเปิดผนึกไปยังนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ คัดค้านมติห้ามฉายภาพยนตร์ไทย ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ และขอให้ท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ โปรดพิจารณาทบทวนมติดังกล่าว และโปรดมีคำสั่งห้ามแบนภาพยนตร์ไทยในอนาคต โดยให้ยึดถือการจัดประเภทภาพยนตร์ (Rating) เป็นหลักปฏิบัติ 
จดหมายเปิดผนึกฉบับดังกล่าวจะนำไปยื่นต่อนายกรัฐมนตรีในวันที่ 17 เมษายน และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างเปิดให้ผู้ที่เห็นด้วยร่วมลงชื่อท้ายจดหมาย โดยในเว็บไซต์ Shakespeare Must Die ขึ้นข้อความว่า 
เรียนทุกท่าน,
ขอเชิญร่วมลงชื่อ หยุดแบนภาพยนตร์ไทย หยุดปิดกั้นเสรีภาพ ไม่เป็นประชาธิปไตย
ด้วยการเขียนชื่อ – ที่อยู่ อาชีพ และความเห็นสั้นๆ(ถ้าต้องการ) ลงบนอีเมล์และส่งกลับมายัง [email protected]
โดยเราจะ Print out อีเมล์ของท่านแนบท้ายจดหมายคัดค้าน ซึ่งจะนำส่งนายกรัฐมนตรีในวัน ๑๗ เมษายนนี้
รบกวนช่วยส่งต่อไปยังเพื่อนๆคนรักหนัง คนรักเสรีภาพ ผู้สนใจจะร่วมลงชื่อด้วยครับ
ขอขอบคุณทุกท่านที่สนับสนุนการรณรงค์ครั้งนี้ ซึ่งมีความหมายกับเรามาก
หากเราไม่คัดค้าน ไม่ต่อสู้ในครั้งนี้ การแบนหนังก็ยังคงเกิดขึ้นอีกกับเรื่องต่อไป ครั้งแล้วครั้งเล่าไม่จบสิ้น
ด้วยความนับถือ
มานิต ศรีวานิชภูมิ
ผู้อำนวยการสร้าง ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’
Dear friends,
You can be part of this appeal to Thailand's Prime Minister Yingluck Shinawatra
by just email your name, address, career and brief comment on the issue (if you want to) to our email address:
Thank you so much for your kind supports.
Follow here is the content of the open letter:

 

จดหมายเปิดผนึก
 
หยุดแบนภาพยนตร์ไทย หยุดปิดกั้นเสรีภาพ
ไม่เป็นประชาธิปไตย
เรียน 
นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 
ประธานคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
และรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม นางสุกุมล คุณปลื้ม
รองประธานกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
ด้วยคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ คณะที่ ๓ มีมติในวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ ห้ามเผยแพร่ภาพยนตร์เรื่อง ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ (Shakespeare Must Die) ในราชอาณาจักร ด้วยเหตุผลว่า “ภาพยนตร์มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกสามัคคีระหว่างคนในชาติ ตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๗(๓)”
คณะของข้าพเจ้าอันประกอบไปด้วย ทีมผู้สร้างภาพยนตร์ สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย นักวิชาการ นักแสดง ผู้ประกอบวิชาชีพด้านภาพยนตร์ กลุ่มคนรักหนัง ตลอดจนประชาชนผู้รักเสรีภาพ เห็นว่ามติดังกล่าวคลุมเครือ ครอบจักรวาล ไร้เหตุผลสนับสนุน ถือเป็นมาตรการรุนแรง ขาดความพอดี อันเป็นเหตุให้กระทบต่อ “สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ” แก่ทุกฝ่าย ทั้งผู้สร้างภาพยนตร์และผู้ชม
ทั้งนี้เจตนารมณ์ของ พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ปัจจุบัน เป็น พรบ.ที่ให้ความสำคัญกับระบบการจัดประเภทของภาพยนตร์ (Rating) เพื่อเป็นหลักประกันในสิทธิและเสรีภาพของประชาชน แทนพรบ.ภาพยนตร์ฉบับเก่าที่ใช้วิธีแบบเผด็จการคือ ห้ามฉายหรือแบน
คณะของข้าพเจ้าจึงขอคัดค้าน ไม่เห็นด้วยต่อมติห้ามฉายภาพยนตร์ไทย ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ และขอให้ท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ โปรดพิจารณาทบทวนมติดังกล่าว และโปรดมีคำสั่งห้ามแบนภาพยนตร์ไทยในอนาคต โดยให้ยึดถือการจัดประเภทภาพยนตร์ (Rating) เป็นหลักปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อมิให้กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย
อนึ่ง ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ นับเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องที่สอง ที่ถูกคำสั่งห้ามฉาย ภายใต้พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ฉบับปัจจุบัน โดย Insects in the Backyard ของ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถูกคำสั่งดังกล่าวใน ปี ๒๕๕๓ ซึ่งเรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจาณา
ด้วยความนับถือ
Open Letter of Appeal
 
Stop Banning Thai Films; Stop Obstructing Freedom;
Stop Undemocratic Practices
Addressed to:
Prime Minister Yingluck Shinawatra
Chairperson, National Board of Film and Video
and Minister of Culture Mrs Sukumol Khunpleum
Vice Chair of the National Board of Film and Video
On April 3rd, 2012, the Film and Video Censorship Board, Third Committee, issued a verdict banning from distribution the film ‘Shakespeare Must Die’ in the Kingdom of Thailand, the reason given being that “the film’s content causes divisiveness among the people of the nation, according to Ministerial Regulation describing types of films 2009, Article 7(3)”
I and my party, consisting of filmmakers, academics, actors, film professionals, film lovers as well as the general freedom-loving public, believe that the verdict is excessively vague and over-inclusive, unsupported by reason, and as such must be considered an extreme and excessive measure, without moderation, and a severe infringement on everyone’s “constitutionally-guaranteed democratic rights and freedoms” as it infringes on the rights of both filmmakers and their audience.
The intent of the present Royal Edict on Film and Video of 2009, which instituted the rating system, is to ensure the people’s rights and freedoms, in place of the previous Royal Edict on Film and Video which employed solely the dictatorial measure of banning films.
Therefore I and my party hereby lodge our disagreement to the banning order on ‘Shakespeare Must Die’, and request that the Prime Minister, in her capacity of Chairperson of the National Board of Film and Video, consider overturning this verdict, and further, to issue an order to forbid the banning of any other Thai film in future, and to use the rating system exclusively, so that there would be an end to this infringement of democratic rights and freedoms.
‘Shakespeare Must Die’ is the second Thai film to have been banned under the present Royal Edict on Film and Video, with ‘Insects in the Backyard’ by Thanyavarin Sukhapisit being the first film to have been banned in 2010 after the institution of the rating system.
For your kind consideration.
Respectfully Yours,
Manit Sriwanichpoom