รอบอาทิตยที่สี่ ก.พ. 55 : รัฐสภาผ่านร่าง 3 ฉบับ เผย 45 กมธ.วางสเปก สสร.แก้รัฐธรรมนูญ

รัฐสภาผ่านร่าง 3 ฉบับ เผย 45 กมธ.วางสเปก สสร.แก้รัฐธรรมนูญ

รัฐสภาผ่านร่าง รธน. 3 ฉบับ 399 ต่อ 199 คะแนน งดออกเสียง 14 เผย 45 กรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม วางสเปก สสร.แก้รัฐธรรมนูญ เพื่อไทยส่ง "เหวง" นำทีมแก้ ประชาธิปัตย์ส่ง "นิพิฏฐ์" รวมทั้งมือกฎหมายคอยค้าน

เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 55 การอภิปรายญัตติพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่สอง นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานที่ประชุม ได้สั่งให้ลงมติโดยใช้วิธีลงคะแนนเปิดเผยขานชื่อสมาชิกทีละคน แล้วให้โหวตว่า จะรับร่างแก้ไขฯหรือไม่ โดยต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบ ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภา ปรากฏว่า เสียงส่วนใหญ่รับหลักการทั้ง 3 ร่าง ด้วยคะแนน 399 ต่อ 199 งดออกเสียง 14 ยึดร่างของรัฐบาลเป็นหลัก

จากนั้นตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 291 จำนวน 45 คน แบ่งเป็น พรรคเพื่อไทย 19 ประชาธิปัตย์ 11 ภูมิใจไทย 2 ชาติไทยพัฒนา 1 ชาติพัฒนา 1 พลังชล 1วุฒิสภา 10 กำหนดแปรญัตติ 30 วัน นัดประชุมครั้งแรกวันที่ 29 ก.พ. เวลา 10.00 น. ที่ห้องคณะกรรมาธิการ 3 อาคารรัฐสภา 3

โดยรายชื่อกรรมาธิการฯ 45 คน เป็นสัดส่วนจากพรรคเพื่อไทย 19 คน คือนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย, นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน, นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน, นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่, นายไชยา พรหมา ส.ส.หนองบัวลำภู, นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร, นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม., นายประเสริฐ จันทรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา, นายสุพล ฟองงาม ส.ส.อุบลราชธานี, นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี, นายไพจิต ศรีวรขาน, นายวัฒนา เมืองสุข, นายพิชิต ชื่นบาน, นายชวลิต วิชยสุทธิ์, นพ.เหวง โตจิราการ, นายก่อแก้ว พิกุลทอง, นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์, นายสุนัย จุลพงศธร และ น.ส.จารุพรรณ กุลดิลก ส.ส.บัญชีรายชื่อ

จากพรรคประชาธิปัตย์ 11 คน คือ นายสุทัศน์ เงินหมื่น, นายนิพันธ์ บุญญามณี, นายอลงกรณ์ พลบุตร, นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นายธนาชีรวินิจ ส.ส.กทม., นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง, นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา, นายสาทิตย์ ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง, นายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง, นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก, นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช

และจากพรรคภูมิใจไทย 2 คน ได้แก่ นายสนอง เทพอักษรณรงค์ ส.ส.บุรรัมย์ และนายเรืองศักดิ์ งามสมภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา 1 คนได้แก่ นายชุมพล ศิลปอาชา ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา 1 คน ได้แก่ นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังชล 1 คน ได้แก่ นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ส.ส.ชลบุรี

ส่วนวุฒิสภา 10 คน ได้แก่ นายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร, นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ, นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว.สรรหา, นายชูชัย เลิศพงศ์อดิศร ส.ว.เชียงใหม่, พล.อ.ชูชาติ สุขสงวน ส.ว.สรรหา, นายสมชาติ พรรณพัฒน์ ส.ว.นครปฐม, พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา, นายสุวิศว์ เมฆเสรีกุล ส.ว.สมุทรสาคร, นายธวัชชัย บุญมา ส.ว.นครนายก และ นพ.อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ส.ว.สุรินทร์

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
 

ถกร่าง พรฎ.สถาบันความปลอดภัย คนงานย้ำต้องเป็นอิสระจากรัฐ

เมื่อวันที่ 20 .. 55 คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) และคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม จัดเสวนา ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่โรงแรมทีเค พาเลส กรุงเทพฯ

สุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฎิรูปกฎหมาย (คปก.) เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ..2554 กำหนดให้มีการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานภายใน 1 ปี ซึ่งกระทรวงแรงงานได้ตั้งคณะทำงานจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่งเสริมสถาบันความปลอดภัยในการทำงานเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายและมีความเป็นอิสระในการดำเนินงานอย่างแท้จริง ทั้งนี้ คปก.เห็นว่ายังมีประเด็นโต้แย้งกันอยู่หลายเรื่อง จึงเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

วินัย ลู่วิโรจน์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า ไม่มีความขัดแย้งในเรื่องอำนาจหน้าที่ของกระทรวงแรงงาน กับกรมสวัสดิการฯใดๆ ทั้งสิ้น ขณะที่การตั้งข้อสังเกตของหลายฝ่ายเกี่ยวกับที่มาของประธานกรรมการและคณะกรรมการ มีข้อสังเกตว่า ควรให้ความสำคัญกับเรื่องระบบมากกว่าตัวบุคคล เช่น ระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด หากเห็นว่า ผู้แทนของลูกจ้างควรจะมาจากการเลือกตั้งก็เสนอได้ ทั้งนี้ร่าง พรฎ.ฉบับนี้ร่างขึ้นมาตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน หมวด 7 มาตรา 52 คือให้มีการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน แต่ยังไม่มีการระบุถึงรูปแบบในการจัดตั้ง อย่างไรก็ตาม คณะทำงานเห็นว่าควรจะอยู่ในรูปองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

พรชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ผู้แทนเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงนิยามความเป็นอิสระขององค์กร ซึ่งรัฐนิยามว่าต้องอยู่ภายใต้กำกับของราชการ แต่ความคิดของการกำกับของทางราชการและแนวคิดของแรงงานแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง พรชัยเสนอว่าอำนาจการกำกับควรอยู่ภายใต้กฎหมายที่องค์การมหาชนระบุไว้ คือรัฐมนตรีสามารถกำกับได้ แต่ไม่ควรมีอำนาจสั่งการ ใดรวมถึงไม่สามารถแต่งตั้งบุคคลใดๆ ได้

ชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า ระบบไตรภาคีเป็นระบบที่ผูกขาดและกีดกัน ในขณะที่ผู้ใช้แรงงานมีความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัย แต่ขณะนี้มีคณะกรรมการไตรภาคีจะใช้ระบบของสหภาพแรงงาน คิดว่าแนวทางที่ดีที่สุดควรเป็นการเลือกตั้ง 1 คน 1 เสียง ซึ่งขณะนี้มีอยู่ 10 ล้านคน ขณะที่วิธีการสรรหาควรเป็นที่มาของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมากกว่า อย่างไรก็ตาม ภาครัฐยังอ้างว่ามีภาระด้านงบประมาณอยู่

อ่านเพิ่มเติมที่ : ประชาไท

'หมอตุลย์' นำเสื้อหลากสียื่น 3 หมื่นรายชื่อคัดค้านแก้รธน.- .112

เมื่อวันที่ 23 .. 55 นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดินหรือกลุ่มเสื้อหลากสี พร้อมประชาชนกว่า 20 คน เดินทางมายื่นหนังสือพร้อมทั้งรายชื่อประชาชน จำนวน 30,000 รายชื่อต่อสภาฯ เพื่อคัดค้านการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ม.112 ไม่ให้พิจารณารับรองข้อเสนอดังกล่าวจากคณะนิติราษฎร์หรือกลุ่มใดก็ตาม โดยมีนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ เดินทางมารับหนังสือ

นพ.ตุลย์ กล่าวว่า ตามที่คณะนิติราษฎร์ได้เสนอให้มีการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา ม.112 ให้มีการลดโทษจำคุก แยกออกจากหมวดความมั่นคงของชาติ และให้สำนักราชเลขาธิการเท่านั้นเป็นผู้ฟ้องคดีแทนประชาชนทั่วไป โดยอ้างว่าเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการวิพากษ์สถาบันกษัตริย์มากขึ้น และเป็นการปกป้องสถาบันกษัตริย์นั้น ทางเครือข่ายเห็นว่าเป็นข้ออ้างที่ไม่สมเหตุผล ไม่ตรงตามสถานการณ์ที่เป็นจริงในปัจจุบัน หากมีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ม.112 ตามที่เสนอมา จะทำให้มีการหมิ่นประมาทอาฆาตมาดร้ายสถาบันกษัตริย์มากขึ้นและรุนแรงขึ้น แม้จะมีบทลงโทษจำคุก 3 – 15 ปี ก็ยังมีผู้หมิ่นและใส่ร้ายพระองค์ท่านอย่างรุนแรงอยู่แล้ว อันเป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท และสะเทือนใจพสกนิกรผู้จงรักภักดีทั่วประเทศ

อ่านเพิ่มเติม : ประชาไท

"เมียสมยศญาติสุรชัย แซ่ด่าน" ร้องกมธ.กฎหมายช่วยประกันตัวสู้คดี ม.112

เมื่อวันที่ 22 .. ในการประชุมคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และ สิทธิมนุษยชน (กมธ.) สภาผู้แทนราษฎร ที่มี ...วิรุฬ ฟื้นเสน ส..บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เป็นประธาน ได้พิจารณาศึกษาและตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการปฏิบัติต่อนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องหาคดีดำหมายเลข 02936/2554 ทำให้ต้องทุกข์ทรมานและไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานในการประกันตัวและกรณีความไม่เป็นธรรม และในคดีของนายสุรชัย (แซ่ด่าน) ด่านวัฒนานุสรณ์ โดยเชิญนายสุนัย จุลพงศธร ส..บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกมธ.การต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร , นายวีระชัฎฐ์ จันทรสะอาด ญาติของนายสุรชัย และ นางสุกัญญา พฤกษาเกษมสุข ภรรยานายสมยศ เข้าชี้แจง

นายสุนัย กล่าวว่า 2 คดีนี้ถือว่าเป็นคดีตัวอย่างจากหลายคดีที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางการเมือง เพราะกระบวนการยุติธรรมมีแนวโน้มละเมิดหลัก ว่าด้วยอนุสัญญาการทรมานทั้งหมด เช่นกรณีนายสมยศ มีการเดินทางไปสอบพยานโจทย์ที่ จ.สงขลา โดยรถขนนักโทษ ห้ามเข้าห้องน้ำ พอไปถึงพยานก็ไม่ได้มา และขณะนี้เรือนจำมีนักโทษอยู่แน่นมาก เยี่ยมก็ไม่ได้ โดยเฉพาะคดี มาตรา 112 ในต่างจังหวัด และการตีตรวนล่ามโซ่ ก็ไม่มีเชือกให้ เข้าใจว่าเป็นนักโทษแต่ก็เป็นมนุษย์ ตนจึงได้เสนอเรื่องรถติดแอร์ ส่วนเรื่องการประกันตัวก็เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน แต่ก็อยู่ที่อำนาจศาล ไม่ก้าวก่าย แต่คดีนี้เมื่อเปรียบเทียบกับคดี อื่น อย่างเช่นคดีก่อการร้าย มีโทษหนักกว่า ยังอนุญาตให้มีการไต่สวน

อ่านเพิ่มเติม : ข่าวสด

ศิโรจน์” แจงแค่ตัดคำว่า “ราชภัฏ” แต่ไม่ได้ตัดชื่อพระราชทานออก

.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) กล่าวถึงกรณีที่ มสด.ได้เสนอเรื่องขอเปลี่ยนสถานะไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ และได้เสนอร่าง พ...มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยมีการเปลี่ยนชื่อสถาบันจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เป็นมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยตัดคำว่า “ราชภัฏ” ออกว่า ร่าง พ...ที่ มสด.เสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้เปลี่ยนชื่อจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มาเป็น มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จริง เพราะติดขัดในข้อกฎหมายซึ่ง พ...มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในปัจจุบันนี้เป็น พ...รวมที่ใช้ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 40 แห่ง และข้อบังคับในการบริหารงานต่างๆ ของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏที่กำหนดให้ต้องดำเนินการเหมือนกัน ถ้า มสด.ยังใช้ชื่อว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏอยู่ก็ต้องมาตีความอีกว่า มสด.ออกนอกระบบแล้ว แต่จะต้องดำเนินการตามนั้นด้วยหรือไม่ หรือการตั้งแต่งคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (...) กำหนดว่า ให้มหาวิทยาลัยแต่ละกลุ่มส่งผู้แทนเข้ามาร่วมนั้น จะให้ มสด.ไปรวมอยู่กับกลุ่มไหนก็คงต้องมาตีความกันอีก ดังนั้นเมื่อ มสด.จะเปลี่ยนสถานะไปเป็น ม.ในกำกับรัฐจึงต้องเปลี่ยนชื่อเพื่อให้มี พ...ใหม่เป็นของตัวเอง

“ที่ผ่านมา ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยของ มสด.ทั้งจากคนในและคนนอก แต่ผมได้อธิบายแล้ว เชื่อว่า ทุกคนจะเข้าใจ ยืนยันว่า ไม่ได้ตัดชื่อที่พระราชทานออก เพราะตามจริง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้พระราชทานคำว่า ราชภัฏ แต่พระราชทานคำว่า สถาบันราชภัฏ ขณะที่ชื่อ สวนดุสิต ก็เป็นชื่อพระราชทานเช่นเดียวกัน เป็นชื่อวังเก่าสมัยรัชกาลที่ 5 และเมื่อมี พ...ใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยอยู่แล้ว ถือเป็นสิริมงคลสถาบันเช่นกัน” ศ.ดร.ศิโรจน์ กล่าว

นายเปรื่อง กิจรัตน์ภร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ (ทปอ.มรภ.) กล่าวว่า ตนมองว่าการเปลี่ยนชื่อสถาบันและการออกนอกระบบเป็นเรื่องของแต่ละมหาวิทยาลัยที่จะพิจารณาความพร้อมและความเหมาะสม แต่ที่ นายศิโรจน์ บอกว่า จำเป็นต้องตัดคำว่าราชภัฏออกเพื่อไม่ให้กฎหมายซ้ำซ้อนนั้น คงเป็นเหตุผลส่วนตัวของ มสด.เพราะการพิจารณาว่าจะได้เปลี่ยนสถานะหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสภาผู้แทนราษฎร และไม่จำเป็นต้องตัดคำว่า ราชภัฏ ออกก็สามารถเปลี่ยนสถานะได้หากสภาฯให้ความเห็นชอบ และ มสด.มีเหตุผลเพียงพอ

ที่มา : ASTV ผู้จัดการออนไลน์

"เสรี"แนะใช้ญี่ปุ่นเป็นแบบ"ร่างกฎหมายชุมชนใช้ กม.ผังเมือง"แก้น้ำท่วม

เมื่อวันที่ 20 .. 55 ที่อาคารสำนักงานใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มูลนิธิลูกโลกสีเขียวจัดพิธีมอบรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 13 ประจำปี 2554 และพิธีมอบรางวัลการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2554 ภายในงานได้มีการเสวนาวิชาการเรื่อง “บทเรียนรับมือภัยพิบัติญี่ปุ่น ไทยจะคิดอ่านอย่างไร?” จาก ผศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

ผศ.ดร.เสรีกล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ประเทศไทยควรเอาประเทศญี่ปุ่นเป็นแบบอย่างในการแก้ปัญหาภายหลังเกิดภัยพิบัติคือ การให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งภายหลังที่ประเทศญี่ปุ่นได้ประสบภัยพิบัติซึนามิเมื่อปีที่แล้ว ก็ได้มีการร่างกฎหมายชุมชน ให้ชุมชนตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นอีก โดยมีการทำประชาพิจารณ์ฟังเสียงของประชาชนในชุมชน ว่ามีความต้องการที่จะอาศัยในพื้นที่เดิมที่มีความเสี่ยงหรือไม่ อีกแนวทางที่สำคัญคือ ญี่ปุ่นจะใช้กฎหมายผังเมืองขึ้นมาแก้ปัญหา โดยมีการปฏิรูปผังเมืองในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยจะมีการออกกฎหมายให้ประชาชนออกจากพื้นที่ เนื่องจากหากอยู่ที่เดิมก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

ที่มา : มติชน

กระเทียมจีนทะลักยึดตลาดไทย

เกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมในจ.สุรินทร์และภาคตะวันออกเฉียงเหนือประสบปัญหาเดือดร้อนอย่างหนักเนื่องจากกระเทียมสดไทยราคาตกต่ำเหลือกก.ละ 10 บาทจากเดิมกก.ละ 20 บาท สาเหตุเป็นเพราะกระเทียมจีนราคาถูกที่นำเข้าอย่างถูกต้องตามกฎหมายผ่านชายดแดนไทยกัมพูชาลาวและพม่าเข้ามาตีตลาดไทยส่งผลกระทบต่อเกษตรกรไทยโดยตรง

นายคำปัน แจ้งบ้าน พ่อค้าชาวไทยที่ขายกระเทียมหน้าตลาดการค้าชายแดนช่องจอม ต.ตาคง อ.สังขะจ.สุรินทร์ กล่าวว่า กระเทียมจีนที่นำมาขายบริเวณชายแดนได้รับซื้อมาจากตลาดใหญ่ในตัวเมืองสุรินทร์ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีการสั่งซื้อมาอย่างถูกต้องไม่ได้ลักลอบนำเข้ามาจากกัมพูชาแต่อย่างใดส่วนกระเทียมหัวเล็กนั้นก็เป็นกระเทียมที่ไปรับซื้อมาจากเกษตรกรในพื้นที่ อ.ยางชุม จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกกระเทียมแหล่งใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งก็ไม่ทราบสาเหตุการที่ราคากระเทียมตกต่ำมากขนาดนี้มาก่อน

ด้านนางไม ฮอย แม่ค้าชาวกัมพูชา กล่าวว่า กระเทียมที่ขายอยู่ เป็นกระเทียมที่ซื้อต่อมาจากพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยเพื่อมาวางขายเสริมอย่างอื่นเล็กๆน้อยส่วนกระเทียมหัวเล็กก็มีมาจากชาวบ้านกัมพูชาที่ปลูกเล็กๆน้อยๆเพื่อนำมาขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันซึ่งไม่สามารถเอาของมาขายมากๆได้เพราะเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรช่องจอมมีการตรวจเข้มและไม่ให้นำเข้าเกินจำนวน

ที่มา : โพสต์ทูเดย์

แรงงานจับมือนายจ้างหนุนออกกฎหมายห้ามขายหล้าในโรงงาน

เมื่อวันที่ 24 ..55 นายสุชาติ ตระกูลหูทิพย์ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมภาคีเครือข่าย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 16-20 ..55 มูลนิธิฯ ได้สำรวจความคิดเห็นลูกจ้างและนายจ้างในประเด็นผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และความคิดเห็นต่อร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง “ห้ามขาย หรือห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ประกอบกิจการโรงงาน พ.. …” จากจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 948 ราย แบ่งเป็น ลูกจ้าง 900 ราย และนายจ้าง 48 ราย ทั้งหมด 30 โรงงาน จากพื้นที่ จ.ลำพูน นนทบุรี สมุทรสาคร นครปฐม พบว่าลูกจ้างร้อยละ 95.78 เห็นด้วยกับร่างประกาศฯ ฉบับดังกล่าว

ขณะที่นายจ้างเห็นด้วย 100 เปอร์เซ็นต์ เชื่อจะช่วยลดปัญหาการดื่มเหล้าของคนงานในโรงงานได้ สำหรับผลกระทบจากการดื่มเหล้ามีเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เห็นได้จากข้อมูลที่กลุ่มลูกจ้าง ระบุว่า กระทบต่อเศรษฐกิจและสุขภาพมากเป็นลำดับแรกคิดเป็นร้อยละ 19.47 ตามด้วยการทำให้เกิดอุบัติเหตุร้อยละ 18.44 เกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ร้อยละ 18.05 ต้องถูกนายจ้างให้ใบเตือนร้อยละ 12.69 และถูกให้ออกจากงานร้อยละ 13.39 ตามลำดับ

ขณะที่กลุ่มนายจ้าง ยืนยันว่า การที่ลูกจ้างดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ผลผลิตแย่ลงเป็นลำดับแรกคิดเป็นร้อยละ 29.01 ตามด้วยชิ้นงานที่ขาดคุณภาพร้อยละ 21.16 ต้องสูญเสียพนักงานเพราะอุบัติเหตุร้อยละ 25.31 และปัญหาการถูกเลิกจ้างเพราะเมาทะเลาะวิวาทร้อยละ 18.52

ที่มา : สำนักข่าวไทย

พม่าพิจารณาว่าจะให้ต่างชาติร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้งหรือไม่

รัฐบาลพม่ากำลังพิจารณาเรื่อง การอนุญาตให้ตัวแทนจากประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เข้าร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้งซ่อม ที่มีนางอองซาน ซูจี และพรรคการเมืองของเธอร่วมลงสมัครด้วย

เว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการอาเซียน รายงานว่า ระหว่างที่นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน เดินทางเยือนกรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของพม่า พลเอกเต็งเส่ง ประธานาธิบดีพม่า เปิดเผยว่า รัฐบาลพม่ากำลังพิจารณา เรื่องการอนุญาตให้ตัวแทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน เข้าร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้งซ่อมในเดือนเมษายนนี้

โดยครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ยังว่างอยู่ 48 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่นานาชาติให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือเอ็นแอลดี ซึ่งนำโดยนางอองซาน ซูจี ประกาศลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย

หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า พรรคเอ็นแอลดี จะกวาดที่นั่งในสภาได้ทั้งหมด แม้ว่าทางพรรคจะตำหนิฝ่ายรัฐบาลว่า พยายามกีดกันการหาเสียงและกิจกรรมต่างๆ ของพรรคเอ็นแอลดี ซึ่งถือเป็นพฤติกรรมที่ทำให้การเลือกตั้งไม่โปร่งใส

ขณะที่รัฐบาลพม่า มักมีข้ออ้างในการห้ามหาเสียงและกิจกรรมทางการเมืองของพรรคเอ็นแอลดีอยู่เสมอ เช่น ระบุว่าการหาเสียงในสนามฟุตบอล เป็นข้อห้ามตามกฎหมาย และเหตุผลด้านความมั่นคง

ที่มา : Voice TV

นศ.กฎหมายอังกฤษชนะคดีเหยียดผิวหลังถูกไล่ออกจากร้านอาหารจีน

เว็บไซท์แท็บลอยด์ เดลี่เมล ของอังกฤษ รายงานว่า นักศึกษากฎหมายชาวอังกฤษ ได้รับค่าชดเชยเป็นเงินจำนวน 6 พันปอนด์ จากร้านอาหารจีน หลังจากเขาถูกปลดเพราะเป็นคนขาว

เดวิด โอ'นีล ทำงานเป็นพนักงานต้อนรับให้กับร้านอาหารจีน โอเชียน ดราก้อน เพื่อนำรายได้มาเป็นค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา แต่ถูกให้ออกจากงานหลังจากทางร้านนำเข้าแรงงานจากจีนแผ่นดินใหญ่

โอ'นีล ไม่มีเงินจ้างทนาย เขาเพิ่งจะมีอายุเพียง 19 ปี และเพิ่งจะเริ่มชีวิตนักศึกษากฎหมายทำให้เขาตัดสินใจว่าความให้ตัวเองในศาล และสามารถชนะคดีได้เงินชดเชย 5 พันปอนด์หรือราว 240,000 บาท เนื่องจากศาลพิจารณาเห็นว่า เขาได้รับความไม่เป็นธรรมจากการถูกเลือกปฏิบัติด้านเชื้อชาติ

โอ'นีล เริ่มทำงานที่ร้านอาหารโอเชียน ดราก้อน ในเมืองเบอร์มิงแฮม ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2553 แต่เมื่อผู้จัดการชาวจีนเข้ามาดูแลร้านเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว เขาได้ลดชั่วโมงการทำงานของโอ'นีลจากเดิม 25 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เหลือเพียง 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และสุดท้ายก็ไม่เหลือชั่วโมงการทำงานให้ และเมื่อเขาของานทำ แต่กลับได้รับการเพิกเฉยและได้รับการบอกว่าไม่มีงานให้

นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนป้ายในส่วนของพนักงานร้านเป็นภาษาจีน ทำให้โอ'นีล ไม่เข้าใจและในที่สุดเขาก็พบว่า ทางร้านได้จ้างพนักงานใหม่มาแทนเขา เป็นชาวจีนที่ทำงานสัปดาห์ละ 60 ชั่วโมง พนักงานด้วยกันได้บอกกับเขาว่า เขาหมดโอกาสที่จะได้ทำงานเพราะมีคนใหม่มาแทนแล้ว

โอ'นีล ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตฟฟอร์ดไชร์ กล่าวว่า เขามีความสุขที่ได้ทำงานร่วมกับพนักงานชาวจีน แม้ว่าเขาจะไม่ใช่คนจีน แต่ผู้จัดการร้านไม่อยากร่วมงานกับเขาเขารู้สึกว่าถูกเลือกปฏิบัติ เนื่องจากเป็นคนขาว เขาไม่พอใจและผิดหวังอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมเหยียดผิวอย่างเห็นได้ชัด

เมื่อ โอ'นีล ทำหนังสือร้องเรียนไปยังร้านอาหาร แต่ปรากฏว่าได้รับการปฏิเสธว่าเขาเป็นพนักงานของร้าน โอ'นีล ต้องขายรถยนต์ไป เพราะขาดแคลนทุนทรัพย์ และต้องว่าความให้ตัวเองแม้จะขาดประสบการณ์ แต่ก็ได้กำลังใจและการสนับสนุนจากครอบครัว เขาเกือบจะทิ้งความตั้งใจไปแล้ว แต่ครอบครัวได้บอกให้เขาเดินหน้าสู่ต่อไป

โอนีลชนะคดีได้เงินชดเชยกว่า 5 พันปอนด์ ในจำนวนนี้รวมถึงค่าชดเชยที่เขาถูกทำร้ายทางความรู้สึกด้วย ทางร้านได้พยายามจะต่อสู้เพื่อจะไม่จ่ายเงินให้เขา ซึ่งโอ'นีล บอกว่า อาจจำเป็นต้องใช้กฎหมายแรงงานมาต่อสู้ และเขาต้องการให้เรื่องของเขาเป็นแนวทางในการต่อสู้ของคนที่โดนแบบเขา

ที่มา : สำนักข่าวเนชั่น

มหาดไทยอินเดียร้องศาลสูงกลับคำสั่ง “ห้ามแบนเกย์”ชี้รักร่วมเพศ “ผิดศีลธรรม”

เอเอฟพี กระทรวงมหาดไทยอินเดีย เรียกร้องให้ศาลสูงกลับคำพิพากษายกเลิกกฎหมายต่อต้านเกย์ เมื่อปี 2009 โดยให้เหตุผลว่า พฤติกรรมรักร่วมเพศขัดต่อหลักศีลธรรม, “ผิดธรรมชาติ และเป็นตัวการแพร่เชื้อเอชไอวี”

ศาลสูงอินเดียได้รับคำร้องกว่า 20 ฉบับ ที่ขอให้ยกเลิกคำพิพากษาเมื่อ 3 ปีก่อน ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคคลวัยผู้ใหญ่ที่เป็นเกย์สามารถใช้ชีวิตร่วมกันโดยไม่ผิดกฎหมายได้เป็นครั้งแรก

กฎหมายห้ามรักร่วมเพศซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ยุคอาณานิคม ถูกศาลสูงพิพากษาว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นคำตัดสินที่นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิเกย์ต่างยกให้เป็น “ชัยชนะ” ของการต่อสู้ เพื่อโอกาสและสิทธิที่เท่าเทียมของคนรักร่วมเพศในแดนภารตะ

พี.พี.มัลโหตรา รองอธิบดีกรมอัยการ ซึ่งเป็นผู้แทนของกระทรวงมหาดไทย ชี้แจงต่อศาลสูงในกรุงนิวเดลีว่า พฤติกรรมรักร่วมเพศ “ผิดศีลธรรมอย่างยิ่ง และขัดต่อระเบียบของสังคม” มัลโหตรา ยังเสริมอีกว่า “ความรักในเพศเดียวกันขัดต่อกฎธรรมชาติ และทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวี” อันเนื่องมาจากการมีเซ็กซ์ทางทวารหนัก

กระทรวงมหาดไทยสนับสนุนกฎหมายห้ามรักร่วมเพศ เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้เด็กถูกล่วงละเมิด อีกทั้งสังคมอินเดียส่วนใหญ่ก็ไม่ยอมรับพฤติกรรมเช่นนี้ “กฎหมายย่อมไม่อาจแบ่งแยกจากสังคมและหลักจริยธรรมในช่วงเวลานั้นๆ ได้” เขากล่าว

ก่อนจะมีคำพิพากษายกเลิกกฎหมายแบนเกย์ เมื่อปี 2009 รักร่วมเพศถือเป็นอาชญากรรมตามกฎหมายยุคอาณานิคมที่ห้าม “มีเพศสัมพันธ์ด้วยวิธีผิดธรรมชาติ” โดยผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี แม้การดำเนินคดีจะเกิดขึ้นจริงน้อยมาก แต่นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิเกย์ก็ร้องเรียนว่า ตำรวจมักใช้กฎหมายข้อนี้มาดูหมิ่นเหยียดหยามคนรักร่วมเพศ

ผลสำรวจความคิดเห็นเมื่อปีที่แล้วโดยสถานีโทรทัศน์ ซีเอ็นเอ็นไอบีเอ็น พบว่า ชาวอินเดียร้อยละ 73 ยังรู้สึกว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศควรเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ขณะที่ มัลโหตรา อ้างผลการศึกษาโดยคณะกรรมาธิการกฎหมาย ซึ่งก็ได้ผลลัพธ์ในทำนองเดียวกัน ชาวอินเดียส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบท มองว่า การรักร่วมเพศเป็นปัญหาทางจิตที่น่าอับอาย และไม่ควรเปิดเผยให้ใครรู้ และในปัจจุบันก็ยังไม่มีนักกีฬา, นักการเมือง หรือดาราบอลลีวูด ที่ยอมรับว่าตัวเองเป็นเกย์แม้แต่คนเดียว

ผลของคำพิพากษาเมื่อปี 2009 ทำให้คนรักร่วมเพศกล้าเปิดเผยตัวตนในสังคมอินเดียมากขึ้น โดยมีการจัดพาเหรดเกย์ขึ้นเป็นประจำทุกปีที่กรุงนิวเดลี, มุมไบ และเมืองใหญ่อื่นๆ ขณะที่สื่อสิ่งพิมพ์ของชาวสีม่วงก็ปรากฎให้เห็นเพิ่มขึ้นกว่าเก่า

อย่างไรก็ดี หนึ่งในสัญญาณที่บ่งชี้ว่าทัศนคติด้านลบต่อเกย์ยังไม่สลายไปจากสังคมอินเดียง่ายๆ ก็คือ การที่รัฐมนตรีสาธารณสุขอินเดีย ฆุลาม นาบี อาซาด ออกมากล่าวเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้วว่า พฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นของผิดธรรมชาติ และเป็น “โรคติดต่อ” ที่แพร่มาจากประเทศอื่น

แม้ อาซาด จะแก้ตัวภายหลังว่าสื่อนำคำพูดของเขาไปรายงานผิดๆ แต่ก็ทำให้เกิดเสียงประณามจากกลุ่มสิทธิเกย์ รวมไปถึงหน่วยงานด้านโรคเอดส์ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งออกมาชี้แจงว่า “ไม่ควรมีการตั้งป้อมรังเกียจหรือแบ่งแยกกีดกันผู้อื่นด้วยเรื่องรสนิยมทางเพศ”

ที่มา : ASTV ผู้จัดการ

กีวีให้ประกันตัว 'ดอทคอม' เจ้าของเมกะอัพโหลด

ศาลนิวซีแลนด์ อนุญาตประกันตัว "คิม ดอทคอม" เจ้าของเว็บไซต์เมกะอัพโหลด แบ่งปันข้อมูลภาพวีดิโออย่างผิดกฎหมาย โดยมั่นใจว่าจะไม่หลบหนีออกนอกประเทศ

เมื่อ 22 .. ศาลเมืองโอ๊กแลนด์ บนเกาะเหนือของนิวซีแลนด์ ตัดสินอนุญาตให้นายคิม ดอทคอม วัย 38 ปี เจ้าของเว็บไซต์เมกะ อัพโหลด และเว็บไซต์พันธมิตร ซึ่งให้สมาชิกลอบแบ่งปันข้อมูลทั้งภาพ วีดิโออย่างผิดกฎหมายไปทั่วโลก ได้รับการประกันตัวออกไป หลังถูกฝากขังร่วมเดือน จากการถูกจับกุมคาบ้านพักสุดหรูที่เมืองโอ๊กแลนด์ พร้อมกับพรรคพวกอีก 3 คน เมื่อ 20 ..ที่ผ่านมา หลังพิจารณาเห็นว่าทรัพย์สินและบัญชีธนาคารของดอทคอมถูกทางการยึดทรัพย์ไว้ทั้งหมด จึงไม่ใช่บุคคลที่อาจเสี่ยงหลบหนีออกนอกประเทศ อีกทั้งดอทคอมก็ต้องการอยู่เพื่อสู้คดีเพื่อทวงคืนทรัพย์สินทั้งหมด

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์

 

You May Also Like
อ่าน

ส่องวาระศาลรัฐธรรมนูญ-องค์กรอิสระ สว. 67 เคาะเลือกคนใหม่ได้เกินครึ่ง

พฤษภาคม 2567 สว. ชุดพิเศษ จะหมดอายุแล้ว แต่ สว. ชุดใหม่ ยังคงมีอำนาจสำคัญในการเห็นชอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ภายใต้วาระการดำรงตำแหน่งของ สว. ชุดใหม่ จะมีอำนาจได้ “เกินครึ่ง” ของจำนวนตำแหน่งทั้งหมด
อ่าน

กสม.ชี้หน่วยงานรัฐไทยเอี่ยวใช้สปายแวร์เพกาซัส ชงครม.สั่งสอบ-เรียกเอกสารลับ

กสม. เชื่อว่า มีการใช้สปายแวร์ เพกาซัสละเมิดสิทธิจริง โดยพิจารณาจากความน่าเชื่อถือของการตรวจสอบทางเทคนิคคอมพิวเตอร์ และบริบทแวดล้อมในต่างประเทศ นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่า หน่วยงานรัฐไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้สปายแวร์