10 กันยายน 2564 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเห็นชอบแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 สำเร็จเป็นครั้งแรก การแก้ไขครั้งนี้เกี่ยวข้องกับระบบเลือกตั้ง โดยหัวใจของการแก้ไขคือ การแก้ไขให้มีบัตรเลือกตั้งสองใบ และให้มี ส.ส.เขต 400 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100
คณะกรรมการกสทช. ชุดแรกดำรงตำแหน่งมาอย่างยาวนานเป็นเวลาถึง 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2554 สาเหตุที่อยู่มาได้นานก็เพราะสภาแต่งตั้งของ คสช. ช่วยกันคว่ำกระดานยื้อเวลาการสรรหาชุดใหม่ออกไปเรื่อยๆ ประกอบกับ คสช. ก็ใช้อำนาจ "มาตรา44" ระงับการสรรหากรรมการชุดใหม่
9 สิงหาคม 2564 มีการเผยแพร่เอกสารที่ถูกระบุว่าเป็นข้อมูล "ลับที่สุด" ในโลกออนไลน์ โดยเอกสารดังกล่าวคาดว่าเป็นของกองบังคับการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง และประกอบไปด้วยข้อมูลของประชาชน ได้แก่ บรรดานักกิจกรรมหรือนักเคลื่อนไหวทางการเมือง นักการเมือง สื่อมวลชน นักวิชาการ และภาคประชาชน รวมแล้ว 183 รายชื่อ และข้อมูลบัญชีโซเชียลมีเดียอีก 19 บัญชี ซึ่งรายชื่อเหล่านี้ถูกระบุสถานะในเอกสารว่าเป็นกลุ่ม Watchlist หรือกลุ่มที่รัฐกำลังจับตา
31 ส.ค.–3 ก.ย. 64 เป็นช่วงเวลาของการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลประยุทธ์ หนที่สาม แม้การอภิปรายครั้งนี้จะไม่ล้มรัฐบาลประยุทธ์ได้ทันที แต่ความสำคัญอยู่ที่การลงคะแนนที่แตกต่างมากน้อยกันของรัฐมนตรีซึ่งอาจสะเทือนถึงความสัมพันธ์ภายในพรรคร่วมรัฐบาล
ประกาศ DES มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 14 สิงหาคม 2564 เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกำหนดมาตรฐานการเก็บรักษาข้อมูลและส่งเสริมธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความน่าเชื่อถือ และเก็บข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ใช้รวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และความผิดฐานต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์
แม้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องระบบเลือกตั้งที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้เสนอจะคล้ายคลึงกับระบบเลือกตั้งในรัฐธรรมนูญ 2540 แต่ความแตกต่างคือไม่มีเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำของพรรคที่จะได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ การไม่กำหนดเกณฑ์ขึ้นต่ำนี้จะทำให้พรรคขนาดเล็กมีโอกาสเข้าสู่สภามากขึ้นแต่ก็จะเกิด "เบี้ยหัวแตก”
24 ส.ค.2564 การแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยระบบเลือกตั้งเข้าสู่การพิจารณาวาระที่สอง แต่การแก้ไขไม่ได้เป็นความเห็นพ้องต้องกันของรัฐสภา โดยเฉพาะซีกของ ส.ส. ที่แบ่งออกเป็นสองฝ่าย แต่ไม่ใช่ฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาลเช่นที่เราคุ้นเคย
21 สิงหาคม 2564 Nitihub จัดงานเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ "ปราบม็อบ 101: วิชาสลายการชุมนุม (ด้วยความรุนแรง?)" ถกเถียงเรื่องเส้นแบ่งระหว่างความรุนแรง-สันติวิธี, หลักการสลายการชุมนุม ไปจนถึงพลวัตของเส้นสันติวิธีและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ศาลแพ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 29 ที่เป็นการห้ามเผยแพร่ข้อความที่ทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว และให้อำนาจ กสทช. “ตัดเน็ต” เลขที่อยู่ไอพี โดยให้เหตุผลว่าเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ก็ไม่ได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีในสั่ง
จากข้อเถียงของกมธ. งบประมาณปี 65 ในประเด็นการนำงบที่ถูกตัดไปโปะ "งบกลาง" ชวนอ่านข้อเขียนจาก อานันท์ กระบวนศรี นักศึกษาปริญญาโท กฎหมายมหาชน ประเทศฝรั่งเศส ที่เขียนอธิบายถึงขอบเขตการแปรญัตติตัดลดงบประมาณ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 และการนำไปโปะงบรายการอื่น ปัญหาของ “งบกลาง” และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหากตัดลดงบประมาณและนำไปใส่ในงบกลาง