19 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ห้องประชุมคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ. ท่าพระจันทร์ มีวงเสวนาเรื่อง “ประชาชนอยู่ตรงไหน เมื่อตุลาการเป็นใหญ่ในแผ่นดิน” วิทยากรประกอบด้วย ผศ.ธีระ สุธีวรางกูร คณะนิติศาสตร์ มธ., ดร.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ, รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาฯ มธ. และสัณหวรรณ สีสด จากคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล
คดีจากการยื่นคำร้องของกลุ่มอาสาไทย ส่งให้ผู้ตรวจการแผ่นดินแล้วแต่ไม่ส่งเรื่องต่อ จึงยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญเอง จนศาลชี้ว่า กฎหมายห้ามทำแท้ง มาตรา 301 ขัดรัฐธรรมนูญ แต่ผลที่จะเกิดต่อไปยังไม่ชัด เนื่องจากให้คำวินิจฉัยมีผลบังคับในอีก 360 วันให้หลัง
จากงานวิชาการและมุมมองของนักกฎหมายมีส่วนที่เห็นตรงกันว่า พรรคการเมืองไม่ได้มีสถานะเป็นองค์กรของรัฐ จึงต้องใช้หลักกฎหมายเอกชนกับพรรคการเมือง ซึ่งหมายความว่า ต้องใช้หลักการ "ทำได้ทุกอย่าง ที่ไม่มีกฎหมายห้าม" ในเมื่อไม่มีกฎหมายสั่งห้าม พรรคการเมืองกู้เงิน การกู้เงินก็ต้องสามารถกระทำได้ อีกทั้งในทางการเงินการบัญชี เงินกู้ไม่นับเป็นรายได้หรือเงินบริจาค แต่เป็นหนี้สินที่ต้องชำระคืน
วุฒิสภาได้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 4 จาก 5 คน ในวันที่ 11 ก.พ. 63 ส่วน 21 ก.พ. 63 เป็นวันนัดฟังคำวินิจฉัยคดีพรรคอนาคตใหม่ กู้เงิน ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ชวนดูว่าแล้วว่าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 4 คน จะมาทันคดียุบพรรคอนาคตใหม่หรือไม่
11 กุมภาพันธ์ 2563 วุฒิสภามีมติเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หลังจาก กมธ.ตรวจสอบประวัติ ได้ขอเลื่อนการพิจารณาคุณสมบัติมากถึง 4 ครั้ง นับจนถึงวันนี้เป็นระยะเวลากว่า 163 วัน สุดท้ายแล้ววุฒิสภามีมติเห็นชอบว่าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด 4 จาก 5 คน
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)ออกแถลงการณ์เรื่อง รัฐต้องคุ้มครองนายเอกชัย และต้องเร่งแก้ไขปัญหาการข่มขู่คุกคามนักปกป้องสิทธิชุมชนกรณีเหมืองแร่ทั่วประเทศ
หากนับวันตั้งแต่ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 2563 ได้เข้าสู่การพิจารณา ไปจนถึงวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้มีการลงมติใหม่นั้น จะถือว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ได้เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนฯ มาแล้วไม่น้อยกว่า 114 วัน ซึ่งถ้าดูในมาตรา 143 ของรัฐธรรมนูญ ได้วางกรอบเวลาไว้ว่า สภาผู้แทนฯ ต้องพิจารณาให้เสร็จในรอบ 105 วัน มิเช่นนั้น จะถือว่า สภาผู้แทนฯ ได้ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายที่รัฐบาลเสนอโดยไม่ได้มีการแก้ไขใดๆ
ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 129 วรรค 6 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เปิดเผยบันทึกการประชุมของคณะกรรมมาธิการให้ประชาชนทราบ เว้นแต่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา มีมติไม่ให้เปิดเผย จากการติดตามบันทึกการประชุมของวุฒิสภาตั้งแต่เปิดสภา ส.ว. จนถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 พบว่า ส.ว. มีมติในการไม่ให้เปิดเผยอย่างน้อย 30 ครั้ง
31 มกราคม 2563 หกพรรคฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีหกคน โดยคาดว่าจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในวันที่ 19-23 กุมภาพันธ์ ซึ่งระหว่างนั้นนายกรัฐมนตรีจะยุบสภาไม่ได้ จากนั้นจะเว้นการประชุมสภาไว้ 1 วัน จึงกลับมาลงมติได้ ถ้ารัฐมนตรีคนใดถูก ส.ส. เกินครึ่งสภา ลงมติไม่ไว้วางใจ ต้องพ้นจากตำแหน่ง
แอมเนสตี้ฯ เปิดรายงานสถานการณ์สิทธิฯ เอเชีย-แปซิฟิก ชี้ไทยยังไม่ได้มาตรฐานสากล สิรวิชญ์ หรือ "จ่านิว" เล่าประสบการณ์ ถูกเอากฎหมายปกติมาใช้แบบไม่ปกติ คดีเยอะทำให้ใช้ชีวิตปกติประจำวันไม่ได้ ผศ.ดร.จันทจิรา แจงสามประเด็นปัญหาการตีความพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ